จิตรกรรมมุขทิศเหนือ(เต็มฝา)

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์มีลักษณะการเขียนภาพไว้บริเวณฝาผนังด้านสกัดของมุขสกัดทุกๆด้าน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาพเขียนบริเวณด้านบนในมุขด้านทิศเหนือ เขียนภาพขนาดใหญ่เกือบเท่า หรือ เท่าคนจริง ประกอบด้วย ภาพเขียนบริเวณกึ่งกลางของผนัง เขียนภาพพระพุทธเจ้าปางมารวิชัย ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ด้านข้างเขียนภาพพระสาวกอิริยาบถประนมมือ ประทับนั่งด้านละสององค์ 

ถัดมาเป็นภาพเขียนบริเวณด้านบนซ้ายมือ คือ ฝั่งทิศตะวันตกของผนังด้านนี้ ภาพเขียนบริเวณด้านบนสุด เขียนภาพเสือโคร่ง ถัดลงมาเป็นภาพพระภิกษุ ถัดไปเป็นภาพของเด็กวัด หรือ “โขยม” ในภาษาล้านนา เด็กวัดในภาพสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ลักษณะกำลังอ่าน หรือ เขียนตำราภาษาล้านนา ที่เป็นพระสูตรในพุทธศาสนา เบื้องหน้ามีนั่งอยู่ตัวหนึ่ง ถัดไปเป็นภาพเขียนบริเวณด้านบนขวามือ คือ ฝั่งทิศตะวันออกของผนังด้านนี้ ภาพเขียนบริเวณบนสุดเป็นภาพของพญาวานรลักษณะกำลังอุ้มผลไม้ขนาดใหญ่อยู่ ถัดลงมาเป็นภาพของพระภิกษุรูปหนึ่ง ถัดมาเป็นภาพขของเด็กวัด หรือ “โขยม” ในภาษาล้านนา เด็กวัดในภาพสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ลักษณะกำลังอ่าน หรือ เขียนตำราภาษาล้านนา เพื่อถกปัญหาธรรมตำราภาษาล้านนาที่เป็นพระสูตรในพุทธศาสนา 

ส่วนภาพเขียนบริเวณด้านล่างส่วนใหญ่เขียนภาพขนาดเล็ก ซึ่งก็น่าจะเพื่อความสะดวกในการเขียนเรื่องราวต่างๆ ตลอดจนการพิจารณาเรื่องราวในชาดกของผู้ดูอีกด้วย 

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์เขียนเรื่องราวในชาดกไว้ 2 เรื่อง ประกอบด้วย คัทธนกุมารชาดก เนมีราชชาดก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในชาดกเรื่องคัทธนกุมารชาดกเป็นส่วนใหญ่ โดยเขียนเริ่มเรื่องที่ฝาผนังด้านสกัดของมุขด้านทิศเหนือนี้ โดยเขียนลำดับของการเล่าเรื่องไปยังเมืองต่างๆตามเนื้อหาในชาดก แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ

ส่วนแรก บริเวณมุขด้านทิศเหนือฝั่งตะวันตก เเละฝาผนังด้านตะวันตกของมุขด้านทิศเหนือ โดยเรื่องราวของชาดกเริ่มที่เมืองศรีษะเกษ ซึ่งเป็นมืองบ้านเกิดของคัธนกุมาร โดยเนื้อหาของชาดกในตอนนี้เล่าเรื่องราวของมารดาคัทธนกุมารที่อาศัยอยู่ภายในเมืองศรีษะเกษ ครั้นนั้นนางได้กินน้ำในรอยเท้าช้างที่เข้ามาเหยียบย่ำนาของตน เเล้วเกิดตั้งครรภ์ ครั้นเวลาล่วงเลยไปจนครบกำหนดคลอด นางจึงให้กำเนิดบุตรชายจึงได้ตั้งชื่อให้ว่า “คัทธณะ” ครั้นในตอนที่นางได้ให้เกิดเนิดคัทธนกุมารนั้น ได้มีดาบศรีกัญไชยตกลงมาข้างๆในวันที่ให้กำเนิดบุตรด้วย ครั้นเมื่อคัทธนกุมารเติบใหญ่ขึ้นก็มีอิทธิฤทธิ์ และพละกำลังเหนือคนทั่วไป (ภาพเขียนในบริเวณนี้เขียนเล่าเรื่องสลับไปมาตามพื้นที่ในมุขด้านนี้)

ส่วนที่สอง บริเวณกลางมุขด้านทิศเหนือ ด้านบนของประตูทางเข้า เขียนเรื่องราวในตอนที่คัทธนกุมารเริ่มออกเดินทางไปตามหาบิดา และได้สหายคู่ใจ คือ นายร้อยเกวียนและนายร้อยกอ

ส่วนที่สาม บริเวณมุขด้านทิศเหนือฝั่งตะวันออก เขียนเรื่องราวในตอนที่เจ้าคัทธณะกุมารเดินทางถึงเมืองอินทปัฎฐนคร แล้วจึงเดินทางต่อ

ส่วนสุดท้าย บริเวณฝาผนังด้านตะวันออกของมุขด้านทิศเหนือ เป็นเรื่องราวในตอนที่เจ้าคัทธณะกุมารออกจากเมืองอินทปัฎฐนคร เเละใช้เวลากว่า 15 วันเข้าไปในป่าหิมพานต์ ครั้นเมื่อถึงบริเวณกลางป่า ทั้งสามประกอบด้วย เจ้าคัทธณะกุมาร ร้อยกอ ร้อยเกวียน พากันหยุดพักระหว่างทางอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่สองต้น ครั้นนั้นคัทธณะกุมารได้สั่งให้บ่าวทั้งสองไปขุดจิ้งหรีดใหญ่ตัวหนึ่งที่กำลังขุดเจาะภูเขาลูกใหญ่อยู่บริเวณนั้นหมายนำมาเป็นอาหาร ขณะเดียวกันมีนางยักษ์ตนหนึ่งมาตามจับคัทธนกุมาร นางยักษ์จึงจับร้อยกอและร้อยเกวียนไป เจ้าคัทธณะกุมารจึงตามไปปราบนางยักษ์ลง นางจึงมอบพิณวิเศษและไม้เท้าต้นชี้ตายปลายชี้เป็นให้เเก่เจ้าคัทธณะกุมาร เพื่อเป็นการไถ่โทษ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels

Loading