วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 6-5-4(กัณฑ์ที่ 11)1.6

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพเขียนจิตรกรรมในกัณฑ์ที่ 11 กาวินทราชยุทธกัณฑ์ เขียนเล่าเรื่องบนฝาผนังระหว่างหน้าต่างช่องที่ 5 และ 6 เล่าเหตุการณ์ในเมืองอนุราธบุรี (ภาพเขียนฝั่งขวามือหน้าปราสาทของพระเจ้าธรรมขันตี) ครั้นเมื่อทำยุทธหัตถีกัน มิมีผู้ใดเป็นฝ่ายแพ้และชนะ ไพร่พลต่างล้มตายเป็นอันมาก ทั้งสองทัพจึงทำการพักรบกัน ครั้นพระเจ้ากาวินทะแลเหล่ากษัตริย์น้อยใหญ่ ดำริอุบาย ร่ายมนต์กำบังบังตัว กำบังบังตา และลักเข้าไปในพระนคร ครั้นนั้นเจ้าจันทคาธเอาแก้วมณีทิพยเนตรส่องดูกษัตริย์เหล่านั้น จึงแจ้งแก่นางพรหมจารี ว่าพระเจ้ากาวินทะและเหล่ากษัตริย์น้อยใหญ่ร่ายมนต์บังตากำบังกายเข้ามาในพระนคร เจ้าจันทคาธจึงเอาน้ำจากแก้วมณีวิเศษทาที่พระเนตรของพระนางพรหมจารี และเหล่านักรบหญิงทั้งหลาย ด้วยอานุภาพของแก้วมณีพระนางและเหล่านักรบหญิง จึงเห็นกษัตริย์เหล่านั้น ทำแสร้งเป็นว่าไม่เห็น และเข้าจับกุมตัวเหล่ากษัตริย์น้อยใหญ่ไว้ได้ทั้งหมด กาลต่อมาพระนางพรหมจารีจึงปล่อยกษัตริย์น้อยใหญ่ เว้นแต่พระเจ้ากาวินทะ แล้วทรงบังคับให้พระเจ้ากาวินทะล้างพระบาท นางกษัตริย์ทั้งหลายเสีย แล้วให้ทรงรับปฏิญญาว่า จะต้องส่งทอง 16 โกฏิมาให้ทุกๆปีภาพเขียนบริเวณนี้เริ่มเขียนเล่าเรื่องราวที่ประตูเมือง โดยเริ่มจากบริเวณมุมขวาบนของกำแพงเมือง เป็นเรื่องราวในตอนที่พระญากาวินทะเเละเหล่ากษัตริย์น้อยใหญ่ร่ายมนต์บังตากำบังกายเข้ามาในพระนครอนุราธบุรี บริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “เข้ามาว่าจักมัดเอานางพรมมจารีแล” แปลได้ว่า “จะเข้าเมืองไปเพื่อจับนางพรหมจารี” 

ภาพเขียนบริเวณด้านนอกกำแพง เขียนภาพบุรุษต่างๆยืนเรียงกันอยู่ 5 คน ชายคนซ้าย 3 คนแรก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชาวจีน สวมหมวกสาน ลักษณะคล้ายหมวกของชาวจีน และไว้หนวดยาวที่นิยมในหมู่ชายชาวจีน ถัดมาเป็นชาย 2 คนบริเวณฝั่งขวามือ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชายชาวพม่า โดยสวมเครื่องเเต่งกายแบบชาวพม่า คือ สวมเสื้อคอกลม ด้านในสวมเสื้อคลุมแขนยาวตัวยาวทับด้านนอก เสื้อลักษณะที่เห็นโดยมากจะเป็นตัวยาวคลุมสะโพกลงมาถึงกลางต้นขา เรียกว่า โต่หยี่น อิ๊งจี นุ่งผ้าลุนตยาอเชะผืนยาว ที่เรียกว่าผ้า ตาวง์เฉ่ญ์ ปะโซ ไว้ผมยาวและนำมาเกล้าไว้กลางศรีษะและไว้หนวด บริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “ม่าน” แปลได้ว่า “ชาวพม่า” 

ถัดมาในบริเวณเหนือหน้าต่างช่องที่ 6 เป็นภาพเขียนที่เกิดขึ้นบนฝั่งขวาของพระญาธรรมขันตี ซึ่งน่าจะเป็นตอนที่เจ้าจันทคาธแจ้งแก่พระนางพรหมจารีว่า พระญากาวินทะและเหล่ากษัตริย์น้อยใหญ่ได้ร่ายมนต์กำบังบังตัว กำบังบังตา และลักเข้าไปในพระนครอนุราธบุรี ครั้นนั้นเจ้าจันทคาธจึงเอาน้ำจากแก้วมณีวิเศษทาลงที่พระเนตรของพระนางพรหมจารีและเหล่ากษัตริย์นักรบหญิง ด้วยอานุภาพของแก้วมณีพระนางและเหล่านักรบหญิง จึงเห็นกษัตริย์เหล่านั้น ทำแสร้งเป็นว่าไม่เห็น และเข้าจับกุมตัวเหล่ากษัตริย์น้อยใหญ่ไว้ได้ทั้งหมด ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ บริเวณช่องกลางปราสาทอ่านได้ความว่า “….จันท..เอา..บ..พรหมจาลี…พระยาก…หนี้แล….” (เนื่องจากข้อความไม่ครบจึงมิสามารถแปลได้) ถัดมาเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวณช่องขวาสุดของปราสาทอ่านได้ความว่า “นางพรหมจาลี” แปลได้ว่า “พระนางพรหมจารี” 

ภาพเขียนเหล่านางกษัตริย์และทหารบริเวณบนลานด้านหน้าปราสาท สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชาวไทลื้อ ลักษณะยืนกางขามองลงไปด้านล่าง ซึ่งภาพเขียนบริเวณนี้ภาพค่อนข้างเลือนลางไปมาก เห็นเพียงแต่การแต่งกายของทหารชาวไทลื้อ คือ สวมเสื้อแขนยาวนุ่งผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียว เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงข้อเท้ามีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้ ตัดผมสั้น นำผ้าขาวมาโพกหัว และไม่สวมรองเท้า 

ส่วนภาพเขียนบริเวณด้านบนลานด้านล่างเป็นเหตุการณ์ที่พระนางพรหมจารีและเหล่านักรบหญิง ได้รับอานุภาพจากแก้วมณีวิเศษ จึงสามารถเห็นเหล่ากษัตริย์ ที่ลอบเข้ามาในพระนคร เเละสามารถเข้าจับกุมตัวพระเจ้ากาวินทะและเหล่ากษัตริย์น้อยใหญ่ไว้ได้ทั้งหมด ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ อักษรชุดบนอ่านได้ความว่า “นางพรมมจาลีมัดพระญากาวีนทะหนี้แล”แปลได้ว่า “พระนางพรหมจารีจับพระเจ้ากาวินทะมัดไว้” และอักษรชุดล่างอ่านได้ความว่า “ขอเตอะเจ้า” แปลได้ว่า “ขอร้องเถอะ”

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels