วัดท่าข้าม ทิศเหนือ 2.2

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังห้องที่ 2 ฝาผนังฝั่งทิศเหนือ เขียนภาพชาดกนอกนิบาต ซึ่งเป็นชาดกที่พระเถระอาจารย์ในอดีตของล้านนา ได้ประพันธ์แต่งแปลงเป็นนิทานพื้นบ้าน ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังฝานี้ เขียนเรื่องเจ้าแสงเมืองหลงถ้ำ กล่าวคือ กาลครั้งหนึ่ง ณ เมืองเชียงทอง มีท้าวมันธราชและนางสุมิรา เป็นผู้ครองเมือง แต่ทรงไม่มีพระราชโอรส ครั้นนั้นเรื่องร้อนถึงพระอินทร์ต้องไปเชิญพระโพธิสัตว์มาปฏิสนธิในครรภ์นางสุมิรา โดยแปลงกายนำเอา “แสง” (แก้วมณี) มาให้นางสุมิรา เมื่อให้ประสูติพระราชโอรสจึงตั้งชื่อว่า “แสงเมือง ครั้นนั้นมีพรานป่านำลูกหงส์คู่หนึ่งจากป่าหิมพานต์ มาถวายไว้ให้เป็นเพื่อนแสงเมือง หงส์ทั้งคู่นั้นมีความฉลาด พูดภาษาคนได้ ต่อมาเมื่อเเสงเมืองมีพระชนมายุ 16 ชันษา ทรงเป็นบุรุษเพศที่มีรูปงามยิ่งนัก ครั้นนั้นพระบิดาโปรดให้มีการเลือกชายาเเก่เเสงเมือง กระนั้นก่อนคืนวันเลือกพระชายา ทรงสุบินถึงหงส์ทรงเลี้ยง หงส์นั้นได้นำนางรูปงามผู้หนึ่งมาถวาย พระองค์จึงอธิฐานไว้ว่า หากไม่พบคนที่งามเหมือนฝันจะไม่เลือกนางใดเป็นพระชายาของตน กล่าวถึงท้าวสิริวังโสและนางทาริกากษัตริย์ผู้ครองเมืองเขมรัฐราชธานี พระองค์ได้ประสูติพระธิดา เมื่อเเรกประสูติ มีช่างดอกไม้ นำดอกดอกเกี๋ยง (ดอกลำเจียก) มาถวาย ครั้นนั้นเกิดเหตุอัศจรรย์ดอกเกี๋ยงดอกหนึ่งกลายเป็นสีทอง เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ท้าวสิริวังโสจึงโปรดให้ตั้งชื่อพระธิดาว่า “เกี๋ยงคำ” ต่อมาเมื่อนางเกี๋ยงคำจำเริญวัยมาถึง 15 ชันษา ทรงมีสิริโฉมงดงามยิ่งนัก พระบิดาจึงโปรดให้สร้างปราสาทให้พระธิดาประทับอยู่กับนางสนมกำนัลรับใช้ ครั้นต่อมาหงส์คู่ ผู้เป็นสหายของเเสนเมืองทราบข่าวของนางเกี๋ยงคำ จากนกแขกเต้าที่ไปพบนางเกี๋ยงคำเข้า จึงนำมาบอกเเก่หงส์ เมื่อนางทราบเรื่องแล้วก็พอใจจึงมอบแหวนวิเศษที่มีรูปของนางอยู่ในหัวแหวนนั้นฝากไปถวายเจ้าแสงเมือง การติดต่อดังกล่าวนั้นนางมิให้ผู้ใดแพร่งพรายเรื่องออกไป ครั้นเจ้าแสงเมืองประจักษ์ความแล้ว จึงนำความและแหวนไปเล่าถวายแก่พระบิดาและมารดาจากนั้นทูตจากเมืองเชียงทองจึงเดินทางไปสู่เมืองเขมรัฐ พร้อมกับราชบรรณาการเพื่อขอนางเกี๋ยงคำ ครั้นท้าวสิริวังโสทราบเรื่องและรู้รายละเอียดในการที่เจ้าแสงเมืองติดต่อมานั้น ก็ทรงรับเครื่องราชบรรณาการและตอบแทนไปด้วยราชบรรณาการเช่นกัน เมื่อการติดต่อสำเร็จด้วยดีแล้วทั้งสองเมือง ต่างก็เตรียมจัดงานอภิเษกเป็นงานใหญ่

ในเมืองเชียงทองนั้น มีพิธีสังเวยเทพารักษ์ประจำเมืองในทุกวันแรม 1 ค่ำ ที่ดอยหลวงและเนื่องจากเจ้าแสงเมืองจะรีบไปในการอภิเษกนั้นจึงไปทำพิธีสังเวยเทพารักษ์ก่อนกำหนด เมื่อเสร็จพิธีก็อยากเที่ยวในถ้ำจึงพาบริวารอีก 1,000 คนเข้าไปในถ้ำที่ดอยหลวง ขณะที่เที่ยวชมอยู่นั้นคบไฟได้มอดดับไปและทุกคนไม่สามารถหาทางออกได้ แม้คนจากในเมืองพยายามไปตามหาก็ไม่พบกัน ความทุกข์ความหม่นหมองก็เข้าครองเมืองเชียงทอง แล้วกระจายไปสู่เขมรัฐตามลำดับ โดยเฉพาะนางเกี๋ยงคำถึงกับไม่ยอมแต่งเนื้อแต่งตัวไปพักหนึ่ง เมื่อได้สตินางก็สร้างศาลาหลังหนึ่งไว้ในเมืองเพื่อให้คนมาพักและนางก็จัดคนไปคอยฟังข่าวจากคนมาพักที่ศาลานั้น โดยหวังจะทราบเรื่องของเจ้าแสงเมือง และในเมืองเขมรัฐนั้นมีเศรษฐีผู้หนึ่งได้เอาเงินไปถวายพระเจ้าสิริวังโสและขอนางเกี๋ยงคำแก่ลูกชายของตน ครั้งนางเกี๋ยงคำไม่ยอมรับ ก็ไปขอพระเจ้าหลานเธอนางก็ไม่ยอมอีก ลูกเศรษฐีแค้นใจจึงยุทูตจากเมืองจัมปา ให้พระญาจัมปามาตีเมืองเพื่อชิงนางเกี๋ยงคำ

ฝ่ายเจ้าแสงเมืองที่หลงอยู่ในถ้ำด้วยอานุภาพของเวรแต่ปางหลัง เป็นเวลาถึง 11 เดือนบริวารตายไปแล้ว 993 คน เหลืออยู่ 6 คนและเจ้าแสงเมืองอีกหนึ่งองค์ที่ยังไม่สิ้นพระชนม์ ทั้งนี้ด้วยอานุภาพของแก้วมณีที่คาดไว้กับเอวนั้นเพียงแต่ทุกคนผอมจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกและมีลมหายใจรวยรินเท่านั้น เมื่อเข้าตาจนเช่นนั้น เจ้าแสงเมืองจึงอธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นพระพุทธเจ้าจริงแล้ว ก็ขอให้พระอินทร์มาช่วยเถิด จากนั้นก็พาบริวารที่เหลือคลำทางไปในถ้ำไปพบช่องแสงของถ้ำ

และพระอินทร์แปลงเป็นพรานป่ามีอาวุธและเสบียงมาช่วย เจ้าแสงเมืองรู้ว่าเป็นพระอินทร์จึงขอให้ช่วยสอนมนตร์ชุบชีวิตคน พระอินทร์ก็สอนมนต์ให้และมอบดาบสรีกัญไชยพร้อมทั้งสอนวิธีใช้แก้วมณีประจำตัวนั้นด้วย

เจ้าแสงเมืองชุบชีวิตบริวารขึ้นมา แล้วก็พากันเดินไปจนถึงอาศรมสุทธฤาษีตามคำบอกของพระอินทร์ ฤาษีได้สอนวิชาการบางอย่างให้ด้วย เมื่อพักอยู่จนแข็งแรงขึ้นบ้างแล้ว ก็เดินทางต่อไปสู่เขมรัฐ ได้พบนายบ้านปัจฉิมคามชื่อโกสิยาและโกธิกา แล้วพักอยู่กับนายบ้านนั้น นายบ้านทั้งสองเห็นลักษณะของเจ้าแสงเมืองแล้วก็ไต่ถาม เมื่อรู้ความจริงจึงยกลูกสาวของคนทั้งสองให้ คือยกนางสุนันทาแก่เจ้าแสงเมือง และยกนางสุวิราแก่เจ้าสุริราซึ่งเป็นคนสนิทยิ่งของเจ้าแสงเมือง รุ่งเช้าเจ้าแสงเมืองจึงนำบริวารทั้ง 6 คนเหาะไปสู่เมืองเชียงทอง เมื่อไปถึงเมืองแล้วก็เข้าพักในศาลาที่นางเกี๋ยงคำที่นางเกี๋ยงคำสร้างไว้นั้นสร้างไว้นั้น คนของนางซึ่งคอยมาฟังข่าววันละ 2 ครั้งนั้น เห็นบุคคลที่มีบุคลิกน่าสนใจมาพักและสนทนากับหญิงสาวกลุ่มหนึ่ง ก็เข้าไปซักถามแต่ก็ไม่ได้ความนัก นางจึงเข้าไปทูลนางเกี๋ยงคำตามที่ตนสงสัยว่าอาจเป็นเจ้าแสงเมืองก็ได้

คืนนั้นเจ้าแสงเมืองเหาะไปหานางเกี๋ยงคำ นางเกี๋ยงคำไม่ทราบว่าเจ้าแสงเมืองเหาะได้ ก็คาดว่าคงเป็นเทวดา นาค ครุฑ และไม่ยอมให้เจ้าแสงเมืองเข้าในปราสาท แต่ก็สนทนากันด้วยไมตรี รุ่งขึ้นนางก็ให้นางรัมพรังสีญาติคนสนิทของตนไปสืบข่าว เจ้าแสงเมืองหลบไปนอนในม่านคงให้เจ้าสุริราออกรับหน้า ทั้งสองสนทนากันด้วยความพอใจซึ่งกันและกัน ก่อนกลับนางได้ไปตลบม่านดูอาการของเจ้าแสงเมือง เจ้าแสงเมืองจึงตัดพ้อว่านางเกี๋ยงคำไม่ยอมรับรู้ว่าตนเป็นเจ้าแสงเมืองและไม่ยอมให้ตนเข้าไปหาในปราสาท ในคืนนั้นเจ้าแสงเมืองออกไปหานางเกี๋ยงคำและนางรัมพรังสีในปราสาททั้งสองเข้าใจกันอย่างดียิ่ง นางเกี๋ยงคำชวนเจ้าแสงเมืองให้ไปอยู่ในปราสาท แล้วตนจะไปบอกพระบิดาทีหลัง เจ้าแสงเมืองก็กล่าวว่าเป็นการไม่เหมาะที่จะลบหลู่ท้าวสิริวังโสเช่นนั้น

รุ่งขึ้นนางเกี๋ยงคำจึงไปทูลเรื่องเจ้าแสงเมืองแก่พระราชบิดา ท้าวสิริวังโสดีพระทัยรักจึงให้จัดขบวนไปรับเสด็จเข้าเมือง แล้วต่อมาก็ได้อภิเษกนางเกี๋ยงคำกับเจ้าแสงเมือง นางรัมพรังสีกับเจ้าสุริรา ให้ลูกสาวอำมาตย์ 4 นาง แต่งงานกับบริวารของเจ้าแสงเมือง และในคราวนั้นนายบ้านทั้งสองก็ได้นำธิดาของตนมาสมทบในการอภิเษกด้วย ต่อมาท้าวสิริวังโสก็มอบราชสมบัติให้เจ้าแสงเมืองครอบครองแทน

เมื่ออยู่ในเขมรัฐปีหนึ่งแล้ว เจ้าแสงเมืองจึงพาคณะเดินทางไปเยี่ยมเมืองเชียงทองเมืองของพระบิดาตน แต่เดินทางไปได้เพียง 3 วัน พระญาจัมปาก็ยกพลมาจะเข้าตีเมืองเพื่อชิงนางเกี๋ยงคำ ท้าวสิริวังโสจึงให้คนไปตามเจ้าแสงเมืองเจ้าแสงเมืองให้คณะยกตามมา ส่วนตนเหาะกลับเข้าเมืองก่อน จากนั้นเจ้าแสงเมืองก็ได้เริ่มรบด้วยอาคมกับของฝ่ายจัมปานคร การรบเข้มข้นขึ้นตามลำดับ จนในที่สุดพระญาจัมปาก็ยอมอ่อนน้อมต่อเจ้าแสงเมือง

เมื่อเสร็จศึกแล้วเจ้าแสงเมืองจึงได้เดินทางไปเยี่ยมเชียงทองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อไปถึงก็มีการฉลองกันอย่างใหญ่โตและอภิเษกเจ้าแสงเมืองขึ้นครองราชย์อีกด้วย จากนั้นเจ้าแสงเมืองจึงพาคนไปยังถ้ำที่ตนเคยหลงอยู่นั้นแล้วขนทรัพย์สมบัติในถ้ำใส่เกวียนกลับเมือง ซึ่งต้องใช้เวลาขนถึง 3 วันกว่าสมบัติจะหมดสิ้น ส่วนหงส์ทองของเจ้าแสงเมืองนั้นเมื่อเห็นว่านายของตนเองหายไปก็มีแต่ความทุกข์ พยายามไปค้นหาตามเมืองต่างๆ ในที่สุดก็ไปอยู่ที่เดิมของตนในป่าหิมพานต์และสุดท้ายก็ถูกเหยี่ยวลวงไปให้เสือจับกิน ครั้นนายพรานที่เคยนำของไปถวายนั้นพบเศษขนก็จำได้ จึงนำขนหงส์ไปถวายเจ้าแสงเมือง เจ้าแสงเมืองจึงโปรดให้เอาขนนั้นไปทำเป็นพัด หลังจากนั้นทุกฝ่ายก็ดำเนินชีวิตอย่างสงบจนถึงแก่อายุขัยแห่งตน

ภาพเขียนจิตรกรรมในฝานี้เขียนภาพกำแพงเป็นแนวเส้น เพื่อแบ่งภาพในการเล่าเรื่อง ซึ่งเขียนเล่าเรื่องจากด้านขวาล่างข้างหน้าต่างวนไปซ้ายล่างข้างหน้าต่าง เขียนเรื่องราวของการพบกันของเจ้าแสงเมืองกับนางเกี๋ยงคำ ส่วนด้านบนเป็นภาพเขียนเรื่องพระยาจัมปายกทัพมาเมืองเชียงทอง เพื่อแย่งชิงนางเกี๋ยงคำ แต่ต้องพ่ายแพ้และยอมอ่อนน้อมต่อเจ้าแสงเมือง เเละกลับไป

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดท่าข้าม อำเภอเเม่เเตง จังหวัดเชียงใหม่
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
02_26_20190608_MR26-04_2.2
SUBJECT AGE:
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22 – 24
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์ / อ.ดร.สราวุฒิ รูปิน
COVERAGE:
วัดท่าข้าม อำเภอเเม่เเตง จังหวัดเชียงใหม่ View map
ORIGINAL SIZE:
217×274 cm.
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels