Description
Digital Data
เเละยังเขียนภาพพระนางพรหมจารี ขณะกำลังประทับอยู่ในกูบช้าง ที่น่าจะทำมาจากไม้ไผ่สาน และลงรัก ลงชาดปิดทอง
ช้างทรงเครื่องคชาภรณ์แบบของกษัตริย์
พระนางพรหมจารีแต่งกายแบบหญิงในราชสำนักล้านนา คือนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบหรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่งซิ่นตีนจก คือ ซิ่นที่ต่อด้วยตีนจก ที่นิยมใช้ในหญิงไทยวนของล้านนา ส่วนท้องซิ่นก็เป็นรูปแบบเฉพาะที่พบได้แต่ในเมืองน่านเท่านั้น ไว้ผมแบบมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ“วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือ สร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองเท้า ส่วนเหล่านางกษัตริย์เห็นแต่นำผ้ามาคล้องคอ เกล้าผมแบบ “ตั้งเกล้า”และ “วิดว้อง” เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลานหรือแผ่นเงิน ส่วนเหล่ากษัตริย์มีรูปแบบชาวบางกอกในยุคนั้นคือ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวนุ่งโจงกระเบน ไว้ผมทรงมหาดไทย และไม่สวมรองเท้า
ส่วนเหล่าทหารแต่งกายในแบบชายชาวกรุงเทพ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ คือ ใส่เสื้อแขนยาวนุ่งโจงกระเบน ตัดผมทรงมหาดไทย โดยเฉพาะทหารสองคนหน้ามีการสวมหมวกแบบฝรั่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมาก ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น
Physical Data