ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพพระบฏชุดที่ แผ่นที่ อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้

อักษรด้านบนซ้าย ข้างรูปฤๅษี รับขันนิมนแล้ว

อักษรส่วนล่างใต้เส้นสินเทาสีเขียว (จากซ้ายไปขวา)

พระยาเวสันตรแลเจ้าชารีตนเป็นลูก แลพระยาสรีสันไชตนปู่ แลนางผุสสดีตนหย้า(ย่า) เจ้าชารี แลนางกัณหา แลนางมัทรี แลนางกัณหาแลค้อมใช้ แล

อักษรด้านล่างใต้เส้นสินเทาสีน้ำเงิน (จากซ้ายไปขวา) ช่างตัดผมแล้วเสนาทัง 4 เอาผ้าใส่ขันฅำมาถวาย แล

อักษรใต้ภาพเสนาทั้ง 4 สักกติ

อักษรขอบด้านล่างผ้า

สักกติ   ใบธี่ [2]3

ภาพวาดแผ่นนี้เป็นเหตุการณ์ส่วนหนึ่งของกัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์ เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกต พระเจ้ากรุงสัญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วัน  จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ ร้องของทหารทั้ง 4 เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสิพี  จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขาพระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา  ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน ท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก

ภาพนี้เป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าสัญชัยได้มาพบพระเวสสันดรเพื่อให้อภัยและกลับไปครองเมืองสิพี เริ่มที่ภาพมุมซ้ายบนมีชายที่น่าจะเป็นเสนาอมาตย์ยกพานขันดอกที่ทำจากเครื่องเขินมานิมนต์พระเวสสันดร เพื่อให้มาพบพระเจ้าสัญชัย ส่วนภาพมุมซ้ายล่างน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดรทรงปลงผมตอนบวชเพื่อกลับไปครองเมือง โดยมีเหล่าข้าราชบริพารและอมาตย์นำพานที่ทำจากเครื่องเขินขนานใหญ่มารองรับพระเกศา 

 กลางภาพบนเป็นตอนที่พระเวสสันดร พระนางมัทรี กัณหาและชาลีออกมากราบพระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดี ยังความปิติแก่เหล่าข้าราชบริพารทางขวาบนจะเห็นนางกำนัลที่อุ้มขันหมากคำ (ขันหมากทำจากเครื่องเขินปิดด้วยแผ่นทองคำของล้านนา) หลั่งน้ำตาด้วยความยินดี  เหล่ากษัตริย์ทั้งหกทรงเครื่องทรงที่เป็นการผสมผสานระหว่างไทยภาคกลางและพม่า กล่าวคืิอทรงเครื่องด้านบนคือเสื้อและเครื่องบนพระเศียรเป็นแบบทางกรุงเทพแต่ทรงสวมโสร่งผ้าพม่าที่เรียกว่า “ลุนตยา-อชิค” ในภาพช่วงนี้จะเห็นถึงเครื่องประกอบฉากที่มีตั้งแต่น้ำต้น(คนโฑน้ำทำจากดินเผา)ครอบด้วยขันน้ำทองคำ และยังมีขันหมากคำที่มีฝาปิด (ขันหมากทำจากเครื่องเขินปิดด้วยแผ่นทองคำของล้านนา) ส่วนการแต่งกายของเหล่าอมาตย์ชายนั้นเป็นการแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของชายในภาคกลางของไทยคือ สวมเสื้อราชปะแตนแขนยาวไว้ด้านนอกด้านในมีเสื้อรองอีกชั้นหนึ่งนุ่งโจงกระเบนไว้ผมสั้น ส่วนเหล่านางสนมกำนัลเป็นการในรูปแบบของหญิงไทยวนในล้านนาคือมีผ้าแถบมาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ “สะหว้ายแล่ง”หรือนำผ้ามาคลุมไหล่หรือนำมามัดอก นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยไว้กลางศีรษะ ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงนั้นของบริเวณนี้

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_21
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
PROVENANCE:
รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels