ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพพระบฏชุดที่ แผ่นที่ อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้ 

อักษรกลางภาพ ตรงบานหน้าต่าง พระยาสรีสันไชย

อักษรด้านขวาบนเหนือกลุ่มคน นางผุสสดี

อักษรด้านล่างเหนือรูปคน (จากซ้ายไปขวา) กัณหาชารี   ชุจก

อักษรบนเส้นสีแดงด้านล่างภาพ พราหม[เอา]เจ้าชารีแลนางกัณหามาเถิงเมิงเชตุตรนคร

ภาพวาดแผ่นนี้เป็นเหตุการณ์ส่วนหนึ่งของกัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช    เป็นกัณฑ์ที่เทวดาจำแลงองค์ลงมาทำนุบำรุงขวัญสองกุมาร ก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้เหล่าเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้าสัญชัยเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์แด่พระองค์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์  ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย  ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี ในภาพนี้เป็นเหตุการณ์ตอนที่ชูชกพาสองกุมารกัณหาและชาลีเดินทางผ่านป่าใหญ่สู่นครสิพี ในภาพเป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าสัญชัยได้ไถ่ตัวสองกุมารจากชูชกตามที่พระเวสสันดรกำหนดคือ ชาลีกุมารถ้าจะไถ่ให้พ้นจากทาส ต้องไถ่ด้วยทองหนักหมื่นห้าพันตำลึง ส่วนนางกัณหานั้นต้องไถ่ด้วยทาสชายหญิง ช้าง ม้า โค รถ อย่างร้อยละร้อย กับทองแท่ง หนัก 5 พันตำลึง  ด้านหน้าปราสาทมีการบรรเลงดนตรีโดยพิณ 9 สาย การแต่งกายของพระเจ้าสัญชัยเป็นรูปแบบผสมผสามระหว่างไทยและพม่าคือ ช่วงบนใส่เสื้อมีชฎาแบบไทยภาคกลาง ทรงสวมโสร่งผ้าพม่าที่เรียกว่า “ลุนตยา-อชิค” ทรงอุ้มชาลีไว้ การแต่งกายของชาลีมีรูปแบบคือใส่เสื้อคล้ายเสื้อสูทของทางชาวตะวันตกไว้ผมสั้น สวมโจงกระเบนที่น่าจะเป็นการรับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ ฝั่งขวาในปราสาทเป็นพระนางผุสดีทรงอุ้มกัณหาไว้ มีนางกำนัลนั่งด้านหลัง การแต่งกายของพระนางผุสดีและนางกำนัลคือ มีผ้าแถบมาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ “สะหว้ายแล่ง”บ้างหรือนำผ้ามาคลุมไหล่บ้าง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยไว้กลางศีรษะ ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงนั้นของบริเวณนี้ ส่วนการแต่งกายของกัณหามีรูปแบบคือใส่เสื้อคล้ายเสื้อสูทของทางตะวันตกเกล้าผมมวยกลางศีรษะ สวมกระโปรงยาวที่น่าจะเป็นการรับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ ส่วนนักดนตรีและคนที่นั่งด้านหน้าการแต่งกายมีรูปแบบคือใส่เสื้อคล้ายเสื้อสูทของทางตะวันตกไว้ผมสั้น สวมโจงกระเบนที่น่าจะเป็นการรับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ ชูชกที่นั่งอยู่มุมขวาล่างแต่งกายคล้ายชายชาวไทยวนคือไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้นสะพายย่ามขาวแซงดำแดงที่เป็นย่ามของชาวไทยวน นุ่งผ้าผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ”นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เห็นลายสักยันต์แต่เป็นลายสักยันต์ที่ไม่เหมือนที่พบได้ทั่วไป ปราสาทที่ประทับของพระเจ้าสัญชัยเป็นงานสถาปัตยกรรมของเรือนทางพม่า

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_19
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels