ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพพระบฏชุดที่ แผ่นที่ อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้ 025-2

อักษรด้านซ้ายบน ข้างผู้ชายผิวคล้ำ ตีกอง

อักษรกลางรูป ใต้ฐานนั่ง มหาราชช

อักษรใต้บันได เหนือกลุ่มคน (อักษรเลือนมาก อ่านจับความไม่ได้)

อักษรด้านซ้าย ข้างรูปพระ ชักผ้าบังสกุน

อักษรด้านขวา ข้างรูปพระ ฅนตาบอดนำทาง

อักษรด้านล่างข้างแท่นบังสุกุล ชุ่งพราม แล (ชุ่ง = กลุ่ม พวก = กลุ่มพราหมณ์) 

ภาพวาดแผ่นนี้เป็นเหตุการณ์ส่วนหนึ่งของกัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช    เป็นกัณฑ์ที่พระเจ้าสัญชัยเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์แด่พระองค์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์  ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย  ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในภาพนี้เป็นเหตุการณ์ตอนที่ชูชกพาสองกุมารกัณหาและชาลีเดินทางผ่านป่าใหญ่สู่นครสิพี ในภาพตอนบนเป็นตอนที่ชูชกหลังจากได้รับค่าไถ่สองกุมารจากพระเจ้าสัญชัย ที่พระเวสสันดรได้กำหนดไว้คือชาลีกุมารถ้าจะไถ่ให้พ้นจากทาส สำหรับชาลีกุมาร ต้องไถ่ด้วยทองหนักหมื่นห้าพันตำลึง ส่วนนางกัณหานั้นต้องไถ่ด้วยทาสชายหญิง ช้าง ม้า โค รถ อย่างร้อยละร้อย กับทองแท่ง หนัก 5 พันตำลึง จึงทำให้ชูชกนั้นเสพสำราญอาหารการกินเป็นอย่างมาก จนทำให้ชูชกท้องอืดตายในภาพฝั่งซ้ายบน ภาพด้านล่างเป็นเหตุการณ์ที่แบกโลงศพของชูชกไปทำพิธีฌาปนกิจ การแต่งกายของเหล่านางกำนัลเป็นรูปแบบของหญิงชาวไทยวนคือ คือมีผ้าแถบมามัดอกบ้างหรือผ้ามาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ “สะหว้ายแล่ง”บ้างหรือนำผ้ามาคลุมไหล่บ้าง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยไว้กลางศีรษะ ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงนั้นของบริเวณนี้ส่วนชายที่มาดูอาการของชูชกมีรูปแบบของการแต่งกายคือใส่เสื้อคล้ายเสื้อราชปะแตนไว้ผมสั้น สวมโจงกระเบนที่น่าจะเป็นการรับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ ส่วนชายที่อยู่ในขบวนแห่ศพของชูชกมีรูปแบบการแต่งกายที่รับมาจากทางกรุงเทพเช่นกันคือ ใส่เสื้อคอกลมแขนยาวไว้ผมสั้นสวมโจงกระเบน และในขบวนแห่ศพจะเห็นมีการแบกปราสาทโลงศพที่เป็นประเพณีการทำพิธีฌาปนกิจศพของทางล้านนา โดยมีชายคนหนึ่งถือตุงสีขาวที่ทางล้านนาจะเรียกวา “ตุงสามหาง”มีไว้สำหรับนำแห่ปราสาทศพ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_20
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels