วัดป่าเหมือด ทิศใต้ 2.3

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมเริ่มเล่าเรื่องที่ช่องด้านขวาเป็นกัณฑ์ที่สองของพระเวสสันดรชาดกคือ กัณฑ์หิมพานต์ มีความว่า เมื่อพระนางผุสดีจุติจากสวรรค์มาปฏิสนธิ เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามัทราช เมื่อเจริญวัย 16 พรรษาได้รับการอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสญชัย พระประมุขแห่งพระนครสีพี และได้ประสูติพระราชโอรสทรงพระนามว่า “เวสสันดร” ในวันเดียวกันนั้น นางช้างฉัททันต์ได้ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์ ได้ชื่อว่า “ปัจจัยนาค หรือ ปัจจัยนาเคนทร์” ต่อมาพระเจ้าสญชัยได้ทรงมอบราชสมบัตแด่พระเวสสันดรและให้ทรงอภิเษก กับพระนางมัทรี เป็นคู่บารมีในการบริหารบ้านเมือง พระเวสสันดรทรงมีพระนิสัยน้อมไปในการบำเพ็ญทาน ทรงมุ่งจะบริจาคเป็นอารมณ์ เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งในแคว้นกลิงคะ ประชาชนจึงมาขอช้างปัจจัยนาค พระองค์ก็ทรงประทานให้ อันเป็นเหตุให้ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ ทูลขอให้พระเจ้าสญชัยเนรเทศไปสู่ป่าหิมพานต์

ในภาพมีด้วยกัน 2 เหตุการณ์คือด้านมุมขวาล่างเป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดร ได้หลั่งทักษิโณทกประทานช้างปัจจัยนาค หรือ ปัจจัยนาเคนทร์ ให้แก่พราหมณ์ทั้ง 8 ที่มาจากแคว้นกลิงคะเพราะบ้านเมืองแห้งแล้ง ภาพจิตรรรมมุมขวาบนเป็นเหตุการณ์ตอนที่พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ขี่ช้างปัจจัยนาค หรือ ปัจจัยนาเคนทร์ กลับยังแคว้นกลิงคะ ฝั่งซ้ายน่าจะเป็นพระนางมัทรีประทับนั่งคอยอยู่บนปราสาท ปราสาทมีรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์ นำมาผสมผสานกับรูปแบบของท้องถิ่นในเมืองน่าน ส่วนเครื่องทรงของพระเวสสันดรเป็นรูปแบบเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ คือ เปลือยอกสวมพระชฎา มีกรรเจียกคือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก สวมกรองศอและอินทรธนู มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่งหรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ส่วนพราหมณ์ทั้ง 8 นั้นมีการแต่งกายคล้ายกับพราหมณ์ในอินเดียคือ เปลือยอก นุ่งโจงกระเบนสีขาวโพกศีรษะด้วยผ้าขาวเช่นกัน ส่วนพระนางมัทรีแต่งกายคล้ายหญิงชาวไทลื้อในแถบนั้นคือ ใส่เเสื้อที่เรียกว่า “เสื้อปั้ด” คิอเสื้อของหญิงชาวไทลื้อที่สาปเสื้อด้านหน้าเฉียงไปดิดด้านข้างลำตัวแขนยาว และนิยมใช้สีน้ำเงินเข้มที่ย้อมจากครามหรืออาจจะย้อมเป็นสีดำเลยก็มี นุ่งซิ่นที่มีลายขวางลำตัวแต่มิสามารถระบุได้ว่าเป็นผ้าซิ่นชนิดใด มุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ ในส่วนนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีการซ่อมแซมจิตรกรรมี่ผิดไปจากเดิม เนื่องจากรูปแบบของมวยผม มิใช่ทรงมวยผมที่เรียกว่า “วิดว้อง” ที่ต่างกับจิตรกรรมที่เขียนไว้บนฝาด้านิศเหนือ ( ดูรูปแบบมวยผม “วิดว้อง” ของฝาทิศเหนือได้ใน relation )

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:

รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมของทางรัตนโกสินทร์เข้ามาผสมผสาน                                                                                                                                                                         

จิตรกรรมภาพพระนางมัทรี ในช่องที่ 1 ของฝาทิศเหนือ ที่ช่างได้เขียนจิตรกรรมรูปแบบของผมมวยแบบ “วิดว้อง” ได้อย่างถูกต้องตามแบบผมมวย ที่หญิงในดินแดนแถบนี้นิยมทำกัน
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220704_MR_วัดป่าเหมือด_06
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
135 x 45 cm
DIGITAL SIZE:
19836 x 3934  Pixels

Loading