ภาพพระบฎวัดดอกบัว ผืนที่ 5.1

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
พะเยา
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพจิตรกรรมด้านล่างบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนด้านบนเขียนไว้ว่า “หิมพานต์” หมายถึงภาพพระบฏเป็นเรื่องราวของ กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ และบริเวณใต้งวงช้างเขียนไว้ว่า “ผืนนี้ปู่พุทได้บูชาไว้กับศาสนา 5000 วัสาแล” แปลความได้ประมาณว่า “ภาพพระบฏผืนนี้ปู่พุทได้ทำเพื่อเป็นพุทธบูชา ให้พระพุทธศาสนาตราบนานกว่า 5000 ปี” เป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดร ได้หลั่งทักษิโณทกประทานช้างปัจจัยนาค หรือ ปัจจัยนาเคนทร์ ให้แก่พราหมณ์ทั้ง 8 ที่มาจากแคว้นกลิงคะเพราะบ้านเมืองแห้งแล้ง เครื่องทรงของพระเวสสันดรมีรูปแบบคล้ายเครื่องทรงของกษัตริย์พม่า คือสวมพระชฎาสวมกรองศอทับเสื้อแขนยาวแบบพม่า นุ่งผ้าคล้ายโจงกระเบนที่ใช้ผ้าพม่าที่เรียกว่า “ผ้าลุนตยา อเชะ” ช้างปัจจัยนาค หรือ ปัจจัยนาเคนทร์ ทรงเครื่องอย่างช้างของกษัตริย์ที่มีการตกแต่งอย่างงดงาม

ส่วนข้าราชบริพารมีรูปแบบการแต่งกายที่ผสมผสานระหว่างล้านนาและรัตนโกสินทร์ ข้าราชบริพารสองคนด้านหลังพระเวสสันดร คนที่ถือสัปทนใส่เสื้อคอตั้งแขนยาวนุ่งโจงกระเบนที่ทำจากผ้าที่มีลวดลาย ไว้ผมทรงมหาดไทยมีรูปแบบคือไว้ผมกลางกระหม่อม โกนรอบข้างจนเกรียน ทำให้ผมตรงกลางมีรูปเหมือนพระอาทิตย์เดิมมีชื่อว่า “มหาอุไทย” นานไปการเขียนสระอุ ก็กลายเป็น ฤ กลายเป็น “มหาฤทัย” ต่อไปเขียน ฤ เป็น ฎ เลยกลายเป็น “มหาฎไทย” ก่อนจะมาใช้ ด แทน เลยกลายเป็น “มหาดไทย” อย่างในทุกวันนี้ ส่วนอีกคนที่ถือ “ดาบสรีกัญไชย” ใส่เสื้อคอตั้งแขนยาวนุ่งโจงกระเบนที่ทำจากผ้าที่มีลวดลาย สวมหมวกทรงกลมมีปีก ที่น่าจะรับอิทธิพลจากทางรัตนโกสินทร์ที่รับมาจากทางตะวันตกอีกทอดหนึ่ง 

ข้าราชบริพารและทหารนั่งอยู่ด้านล่าง ข้าราชบริพารนั้นเห็นแต่ส่วนครึ่งตัวบน คนแรกเชิญ “น้ำต้น” คือภาชนะใส่น้ำของในล้านนา คนที่สองเชิญกระโถนปากแตร ที่น่าจะรับอิทธิพลจากทางรัตนโกสินทร์ ส่วนคนสุดท้ายเชิญขันหมาก ที่เป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในล้านนา ทั้งหมดไว้ผมทรงมหาดไทยมีรูปแบบคือไว้ผมกลางกระหม่อม โกนรอบข้างจนเกรียน ทำให้ผมตรงกลางมีรูปเหมือนพระอาทิตย์เดิมมีชื่อว่า “มหาอุไทย” นานไปการเขียนสระอุ ก็กลายเป็น ฤ กลายเป็น “มหาฤทัย” ต่อไปเขียน ฤ เป็น ฎ เลยกลายเป็น “มหาฎไทย” ก่อนจะมาใช้ ด แทน เลยกลายเป็น “มหาดไทย” ส่วนทหารสองคนที่นั่งด้านหลังใส่เสื้อคอตั้งแขนสั้น นุ่งโจงกระเบนที่ทำจากผ้าที่มีลวดลาย สวมหมวกที่ในล้านนาเรียกว่า “กูบละแอ” คือหมวกออกศึกของแม่ทัพนายกองของล้านนาสมัยโบราณ และพราหมณ์ทั้ง 8 ที่มาจากแคว้นกลิงคะแต่งกายแบบพราหมณ์ในยุคนั้น คือเปลือยอกนุ่งนุ่งโจงกระเบนที่ทำจากผ้าที่มีลวดลาย ไว้ผมยาวมำมามุ่นมวยไว้ด้านหลัง

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
21/6/2567
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นของล้านนาสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากรัตนโกสินทร์ และพม่า นำมาผสมผสานกัน
COVERAGE:
วัดดอกบัว อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
พะเยา
IMAGE CODE:
02_24_20240621_MR_วัดดอกบัว_05.1
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดดอกบัว อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels

Loading