ภาพจากหนังสือ AN ASIAN ARCADY

SKU: 02_23_20171026_PH03_81 Category:

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงราย
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพจากหนังสือ AN ASIAN ARCADY (The land and People of Northern Siam.) Reginald Le May หน้าที่ 208เป็นภาพที่มีคำอธิบายว่า “ตัวบอกและแสดงน้ำหนัก ที่มีใช้ในภาคเหนือของสยาม โดยที่ประดิษฐ์เป็นรูปสัตว์หลากหลายรูปแบบ (สมบัติของผู้เขียน)” ชุดลูกเป้งของผู้เขียนคือ Mr.Reginald Le May ในภาคเหนือของไทยจะเรียกตัวบอกน้ำหนักเหล่านี้ว่า “เป้ง” หรือ “ลูกเป้ง”ภาษาอังกฤษใช้คำว่า opium weight หรือ animal shaped weight หมายถึงตัวถ่วงน้ำหนักหรือลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักที่ใช้กับเครื่องชั่งโบราณที่มีจานแขวนไว้ 2 ด้าน หรือที่เรียกว่าตราชู เป้งหรือลูกเป้งที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำจากโลหะสัมฤทธิ์ (สมัยก่อนเขียนว่าสำริด) มีรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น สิงห์ นก เป็ด หงส์ ช้างรวมทั้งรูป นักษัตรต่างๆ ในสิบสองราศรี เป็นต้นเป้งมีขนาดแตกต่าง กันขนาดเล็กที่สุดอาจเท่าเมล็ดถั่วไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม วิธีใช้คือ วางของที่จะชั่ง เช่น ฝิ่นเงินทองหรือสิ่งของที่ซื้อ ขายกันในตลาด เช่น พริก กระเทียม ยา สมุนไพร ไว้ที่จานใบหนึ่งของตราชู แล้ววางเป้งที่เป็นตัวถ่วงน้ำหนักไว้ที่จานอีกใบหนึ่งของตราชู วางเป้งขนาดต่าง ๆ จนทำให้แขนของตราชูขนานกับพื้นทั้งสองข้างก็จะทราบว่าของที่ชั่งนั้นมี น้ำหนักเท่าไหร่
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
26/10/2560
RESOURCE TYPE:
Image
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพถ่ายประกอบหนังสือ
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ความสำคัญของลูกเป้งนั้น นอกจากจะเป็นเครื่องถ่วงน้ำหนักแล้วคนล้านนายังใช้ลูกเป้งแทนค่าอีกได้หลายนัยยะด้วยกันคือนัยยะแรกแทนค่าเป็นทรัพย์สินเช่นเดียวกับเงินตรา เช่นในขันตั้งอย่างล้านนาที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ จะใส่ลูกเป้งในขันนั้นด้วย ถือเป็นของ มีค่ามีราคาแทนทรัพย์สินนัยต่อมาลูกเป้งรูปนักษัตร หรือ เป้งสิบสองราศี ใช้ใส่ขันตั้งนั้นเกิด สัมฤทธิ์ผลมากขึ้น เพราะฤทธิ์ของลูกเป้ง สามารถปราบแพ้ขึดหรือเสนียดจัญไรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะขันตั้งในพิธีกรรมสำคัญๆ เช่นการสืบชาตาบ้านเมือง เป็นต้น อีกนัยยะหนึ่งนั้น ลูกเป้งหมายถึงตัวนำโชค ทำนองเดียวกับโชครางแต่เป็นเครื่องรางที่ใช้งานได้ นอกจากนี้ยังเรียกถุงผ้าขนาดเล็กมีหูรูดที่ใช้ใส่พกติดเอวโดยเหน็บกับเข็มขัด เรียกว่า ถงเป้ง หรือ ถุงเป้ง ส่วนถุงที่ใส่ ลูกเป้งโดยตรงนั้นเท่าที่เคยเห็นจะใช้ผ้าเย็บทำเป็นถุงลักษณะคล้ายร่มชูชีพ ใส่ลูกเป้งหลายๆตัว ส่วนยอยเครื่องชั่งตราชูจะใส่ในตลับไม้ซึ่งต้งออกแบบให้ใส่เครื่องชั่งได้พอดี
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
AN ASIAN ARCADY
IMAGE CODE:
02_23_20171026_PH03_81
CATEGORY:
ภาพถ่าย
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
View map
ORIGINAL SIZE:
4902 × 3533
DIGITAL SIZE:
1200 × 865