ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพพระบฏชุดที่ แผ่นที่ อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้อักษรใต้หน้าต่างเรือน (ใต้ผู้หญิงเสื้อแดง) นางอมิตตตาปันนา แล

อักษรใต้ถุนเรือน ผืนนี้ชุจก แล (ชูชก)

(1) อีผู้ 1 นั้น ลิม(ริม)ปากมันเบี้ยวดังมันจอง มันช่างมาขายหนังพองกับ

(2)ทังผักแฅบผักเขา  ผัวมันเถ้ายิ่งกว่ามึงพราม  เขามา

(3)ถามจ่มด่า  มาว่าจำกูหนีอีผู้นั้นแฅวนบ่ดีเหลือขนาด

(4)สากน้ำอยาดมันมีมันมาจาบุบตีบ่ยั้ง อีผู้ 1 นั้น นุ่งสิ้น[บัง]

(5)ก่านลายเสือช้าแอวเฅอก้นกึง  หัวนมตึงชำเปนหนาม

(6)เหน็บดอกฅามช้าห้อม  นุ่งสิ้นก้อมเพียงห้างเตา  ปากมัน

(7)เสาใจมันก็แข็ง  ตุ้มผ้าแดงน้ำย้อม แล

อักษรใต้ถุนเรือนด้านขวา หมูน้อยขบกัน แล

อักษรใต้เส้นสินเทาสีน้ำเงิน เหนือรูปผู้หญิงเอามือบังหน้าผาก นางอมิตตาหาบน้ำเมือบ้านมัน แล

อักษรใต้เส้นสินเทาสีน้ำเงิน เหนือรูปผู้หญิงถือคานหาบ นางอมิตตา แล

อักษรเหนือเส้นสินเทาสีแดงด้านล่าง  ใต้รูปผู้หญิงถือคานหาบ น้ำบ่อนางอมิตตา แล

ภาพวาดแผ่นนี้เป็นเรื่องกัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกหมายจะได้โอรส  และธิดา คือกัณหาและชาลีของพระเวสสันดรมาเป็นทาส เพื่อมาเป็นทาสรับใช้ของนางอมิตดาภรรยาของชูชก

ความเดิม ในแคว้นกาลิงคะมี ขอทานเฒ่านาม “ชูชก” ได้เที่ยวขอทานเก็บเงินได้ถึง ๑๐๐ กษาปณ์ จึงนำเงิน ไปฝากเพื่อนไว้พลางคุยอวดเศรษฐีอย่างปีตินัก จากนั้นก็ออกเดินทางตระเวนขอเงินสืบไป ส่วนพราหมณ์ผัวเมียเก็บเงินไว้นานแล้ว เห็นว่าชูชกไม่มาเอาสักที คิดว่าชูชกคงจะตายไปแล้ว จึงชวนกันนำเงินนั้นออกมาใช้จ่ายเสียจนหมดทั้งสิ้น ครั้นชูชกหวนกลับมาทวงเอาเงินสองผัวเมียก็ตกใจงันงกมิรู้จะทำประการใด พราหมณ์ทั้งสองจึงยกลูกสาวคือนางอมิตดาให้แก่ชูชก

ทั้งที่ชูชกมีรูปร่างอุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก แต่นางอมิตดาก็ขยันปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง  ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนางอมิตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตน ที่มิได้ประพฤติตนเป็นแม่บ้านแม่เรือนอย่างนางอมิตดา ทำให้พวกภรรยาของพราหมณ์อิจฉาริษยามาคอยด่าทอนางอมิตดาอยู่ทุกวัน นางอมิตดา ถูกรุมด่าก็หิ้วหม้อน้ำร้องไห้กลับบ้าน บอกแก่ชูชกว่าจะไม่ไปตักน้ำและไม่ทำงานบ้านอีกแล้ว ขอให้ชูชกไปทูลขอกัณหาชาลี จากพระเวสสันดร มาช่วยงานบ้านก็แล้วกัน ในภาพจิตรกรรมด้านล่างจะเห็นนางอมิตดาถูกเหล่าภรรยาของพราหมณ์ทั้งหลายรุมด่าจากความอิจฉาริษยา ด้านบนฝั่งขวานางอมิตดานั่งอยู่ในเรือนทรงกาแลพร้อมกับชูชกและได้บอกชูชกว่าจะไม่ทำงานบ้านอีกต่อไป ให้ชูชกไปขอกัณหาชาลีจากพระเวสสันดร ฝั่งซ้ายบนของภาพชูชกขณะเดินออกจากบ้านเพื่อไปตามหาพระเวสสันดรเพื่อทูลขอกัณหาและชาลี การแต่งกายของนางอมิตดาและหญิงในภาพเป็นการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือเปลือยอกหรือมีผ้ามาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ “สะหว้ายแล่ง”หรือนำผ้ามาคลุมไหล่ นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยต่ำไว้ด้านหลัง ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ นางอมิตดาหาบ “น้ำทุ่ง”ที่เป็นเครื่องจักสานทำจากไม่ไผ่เคลือบด้วยชันหรือรักเพื่อกันน้ำรั่ว ส่วนชูชกแต่งกายคล้ายชายชาวไทยวนคือไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้นสะพายย่ามขาวแซงดำแดงที่เป็นย่ามของชาวไทยวน นุ่งผ้าผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เห็นลายสักยันต์แต่เป็นลายสักยันต์ที่ไม่เหมือนที่พบได้ทั่วไป สวมรองเท้าแตะที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ ส่วนเรือนอาศัยของชูชกและนางอมิตดา เป็นเรือนของทางล้านนาเรียกว่าเรือน “กาแล” นอกจากนี้ยังได้วาดสภาพแวดล้อมในสมัยนั้นลงไปด้วยตั้งแต่มีการเลี้ยงสุนัข ที่ยืนอยู่ในและหน้าเรือน อีกทั้งยังมีการเลี้ยงหมูอยูใต้ถุนของเรือนอีกด้วย

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_10
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels