ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน – กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์

Description

Digital Data

TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพพระบฏชุดที่ แผ่นที่ อักษรล้านนาประกอบในภาพดังต่อไปนี้

อักษรตรงกรอบประตู [อาสรม]บทสาลาพระยาเสสันตรบท

อักษรตรงกรอบหน้าต่าง อักษรไม่ชัดเจน ดูเหมือนว่าจะเป็นคำว่า “วนปเวส” 

อักษรด้านขวาศาลา ใต้รูปต้นไม้ ถอดปิ่นหื้อทาน

อักษรใต้รูปผู้หญิงกราบ นางมัทรีไหว้พระยาเวสสันตร[บท] แล้ว

อักษรข้างศาลาด้านล่าง เหนือรูปฤๅษี นางมัทรี แล

ภาพวาดแผ่นนี้เป็นกัณฑ์ที่กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์  เป็นกัณฑ์สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายประพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมืองแต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  เพราะพระเวสสันดรทรงตั้งพระทัยที่จะทรงออกผนวช พระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชทรงตั้งเจตบุตรพรานไพร ให้เป็นพนักงานรักษาประตูป่าถวายอารักขาคุ้มภัยให้เป็นพิเศษด้วยและเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช  กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา ในภาพเริ่มเรื่องที่มุมขวาบนเป็นภาพเหตุการณ์ที่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีก็อำลากษัตริย์เจตราชอุ้มพระโอรสดำเนินไปตามแนวทางที่กษัตริย์เมืองเจตราชถวายคำแนะนำไว้ทรงพบพรานเนื้อพรานได้ถวายเนื้อย่าง พระเวสสันดรได้ประทานปิ่นทองให้แล้วเสด็จต่อไปจนถึงเขาวงกต ภาพฝั่งซ้ายเป็นเหตุการณ์ที่พระนางมัทรีกราบพระเวสสันดรหลังจากที่ได้ทรงผนวชเป็นฤาษีแล้ว ด้านล่างสุดเป็นภาพพระเวสสันดร กัณหาและชาลีประทับอยู่ในอาศรมที่ท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์ การแต่งกายพระเวสสันดรในภาพด้านบนเป็นการแต่งกายแบบชายชาวพม่าคิอสวมเสื้อแขนยาวไว้ผมสั้นสวมโสร่งพม่าที่น่าจะเป็นผ้าลุนตยา-อชิค ส่วนพระนางมัทรีแต่งกายแบบหญิงชาวไทยวนคือสวมเสื้อแขนยาวสีเข้ม นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ และทั้งสองพระองค์ทรงถือร่มแบบฝรั่งที่เป็นสินค้าจากชาติทางตะวันตก ส่วนพรานมีการแต่งกายแบบชายชาวไทยวนคือ ไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้น นุ่งผ้ามีลวดลายหรือผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า ที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนในแถบนี้ ในส่วนสถาปัตยกรรมของศาลาน่าจะเป็นสถาปัตยกรรมของล้านนาในยุคนั้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_08
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์และ แปลภาษาล้านนา โดย ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels