จิตรกรรมมุขทิศเหนือฝั่งตะวันตก 1.15

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนบริเวณด้านล่างข้างประตูทางเข้ามุขด้านทิศเหนือ เขียนเรื่องราวภายหลังจากมารดาของคัทธณะกุมาร พาคัทธณะกุมารมาดูรอยเท้าช้างที่ตนกินน้ำในรอยนั้นเเล้วเกิดตั้งครรภ์ จากนั้นทั้งสองจึงพากันเดินทางเข้าป่าไปเรื่อยๆ ครั้นถึงป่าแห่งหนึ่งด้วยความหิวจึงพากันขุดหาหัวเผือกหัวมันกิน 

ณ ป่าแห่งนี้มีนางยักษ์ตนหนึ่งอาศัยอยู่ นางยักษ์ตนนี้ได้เห็นควันไฟที่คัทธณะกุมารได้ก่อขึ้นเพื่อเผาเผือกเผามันกิน จึงวิ่งตามควันไฟนั้นจนมาพบกับคัมารดาของคัทธณะกุมาร ครั้นเมื่อนางยักษ์เห็นมนุษย์จึงวิ่งเข้ามาหมายจะจับมารดาของคัทธณะกุมาร เห็นกระนั้นมารดาของคัทธณะกุมาร จึงวิ่งไปเกาะต้นไม้อย่างเต็มกำลัง ในขณะเดียวกันนางยักษ์ก็ดึงรั้งผมของมารดาคัทธณะกุมาร ด้วยความเจ็บปวดเเละกลัวนางจึงร้องเรียกให้คัทธณะกุมารที่อยู่ในหลุมมันได้ยิน เมื่อได้ยินเสียงของบุพการีร้องเรียกดังนั้น คัทธณะกุมารจึงกระโดดขึ้นจากหลุมมันเห็นนางยักษ์กำลังทำร้ายมารดาของตน คัทธณะกุมารจึงแสดงความกล้าหาญด้วยพละกำลังที่แข็งแรงดั่งพญาช้างสาร  กระโดดขึ้นไปเหยียบคอนางยักษ์ เเล้วเงื้อดาบจะฟันนางยักษ์ ด้วยฤทธานุภาพของคัทธณะกุมาร จึงสร้างความหวาดกลัวแก่นางยักษ์เป็นเอามาก นางจึงร้องขอชีวิตกับคัทธณะกุมาร ด้วยความเมตตาคัทธณะกุมารจึงปล่อยนางยักษ์ไป ด้วยความซาบซึ้งที่มิได้หมายชีวิตตน จึงชี้บอกขุมทรัพย์ทองคำเเละมอบคนโฑทิพย์วิเศษให้แก่คัทธณะกุมาร คนโฑทิพย์นี้หากกินน้ำในคนโฑจะทำให้กลับเป็นหนุ่มเป็นสาวได้ จากนั้นนางยักษ์ก็วิ่งหนีไป ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ บริเวณซ้ายเหนือหลุมที่คัทธณะกุมารลงไปขุดเผือกขุดมัน อ่านได้ความว่า “ลงขุดมัน” ถัดไปเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวณเหนือมารดาของคัทธณะกุมารที่กำลังถูกนางยักษ์กระชากผมอยู่ อ่านได้ความว่า “มาเวยเจ้าแม่” แปลได้ว่า “คัทธณะกุมาร มาช่วยแม่เร็วๆด้วย” ถัดมาเป็นชุดอักษรล้านนาเหนือคัทธณะกุมารที่กำลังเงื้อดาบหมายจะฟันคอนางยักษ์ อ่านได้ความว่า “ญักมาหากินแม่เจ้าคัทธณะ เจ้าคัทธณะณ่ำฅอไว้หนี้แล” แปลได้ว่า “นางยักษ์จะมากินแม่ของคัทธณะกุมาร คัทธณะกุมารเลยกระโดดขึ้นย่ำคอไว้หมายจะฆ่าให้ตายเสีย” ถัดมาเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวณด้านล่างขวามือเป็นตอนที่นางยักษ์กำลังชี้บอกขุมทรัพย์ทองแก่คัทธณะกุมาร อ่านได้ความว่า “ญักชี้ขุมคำให้เจ้าคัทธณะ” แปลได้ว่า “นางยักษ์ชี้ขุมทรัพย์ที่ซ่อนทองคำให้คัทธณะกุมาร” 

หญิงหม้ายมารดาของคัทธณะกุมารในภาพสวมเสื้อผ่าหน้าไม่ติดกระดุม มีลักษณะเป็นเสื้อตัวยาวแขนยาวทำจากผ้าพื้นสีเรียบ บริเวณสาปเสื้อด้านหน้ามีการตกแต่งด้วยการปักด้วยดิ้นเงิน หรือ ดิ้นทอง ดูคล้ายเสื้อปั้ดของหญิงชาวหลวงพระบาง นุ่งซิ่นป้อง คือผ้าซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับซิ่นต๋าของหญิงชาวไทยวนในล้านนา มีรูปแบบการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่เรียกว่าทั่วไปว่า “มัดหมี่” บนลายเส้นในแนวขวางลำตัว ซิ่นป้องถือเป็นผ้าซิ่นที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถพบได้เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น บนศรีษะไว้ผมยาวมุ่นมวยไว้ เรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”

ส่วนนางยักษ์สวมเครื่องเเต่งกายคล้ายกับการแต่งกายในละครนาฏศิลป์ของภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ สวมกระบังหน้า มีกรรเจียก คือ เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกและสวมกรองศอ มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขนและกำไล นุ่งซิ่น “ซิ่นม่าน” คำว่า “ม่าน” ในภาษาล้านนาแปลว่าพม่า ผ้าซิ่นม่านอาจจะได้รับอิทธิพลโครงสร้างมาจากซิ่นของหญิงชาวพม่า เลยนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อของซิ่นชนิดนี้ มีลักษณะเส้นในแนวขวางลำตัวเช่นกัน แต่เส้นขวางลำตัวมีการแบ่งช่องไม่เท่ากัน มีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่ ซิ่นม่านถือเป็นผ้าซิ่นอีกชนิดหนึ่ง ที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์ สามารถพบได้เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น และไม่สวมรองเท้า

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels