วัดพระธาตุช้างค้ำ ทิศตะวันออก

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
จิตรกรรมฝาผนังทิศตะวันออก จิตรกรรมทิศนี้เป็นเช่นเดียวกับฝาผนังทิศอื่นๆ ที่เสียหายลบเลือนไปส่วนมาก แต่ยังสามารถที่จะพอเห็นรายละเอียดได้บ้าง จิตรกรรมในทิศนี้มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ช่องผนัง โดยเรื่องราวเริ่มเล่าตั้งแต่ฝาผนังช่องในสุดด้านข้างพระประธาน เป็นเรื่องราวพุทธประวัติตอนประสูติ ส่วนที่เหลืออีก 5 ช่องผนัง เป็นเรื่องราวของมหาพระเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องหนึ่งในนิบาตชาดก มีปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิบาต ในหัวข้อทศชาติชาดก มหาเวสสันดรชาดกมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “มหาชาติชาดก” ในการเทศนา เรียกว่า “เทศน์มหาชาติ” มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อยเพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในจารึกหลักที่ 3 หรือจารึกนครชุม ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900 ในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พญาลิไท ความว่า “…ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่า พระมหาชาติหาคนสวดแลมิได้เลย…”
การเทศน์มหาชาติในล้านนานั้นได้ผูกกับประเพณีตั้งคำหลวง ที่มาทางแรกน่าจะมาจากการแปล “คาถาพัน” ที่เป็นภาษาบาลี 1,000 พระคาถา ซึ่งพระยากือนาทรงให้พระ 3 นิกายแปล ทางที่สองกล่าวว่าน่าจะมีมาแต่เดิมมาก่อนที่พระพุทธศาสนานิกายพระสุมนจะเจริญในแถบนี้ กล่าวคือมีการเทศน์มหาชาติล้านนามาแต่นิกายเดิมที่เรียกว่า นิกายพื้นเมืองโบราณ ซึ่งรับมาจากมอญ ในล้านนามีฉบับสำคัญเรียกว่า “เวสสันตรทีปนี” แต่งขึ้นโดยพระศิริมังคลาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2060 เป็นวรรณกรรมบาลีเรียบเรียงแบบร้อยแก้ว มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ จึงทำให้เรื่อง “มหาชาติชาดก” เป็นที่นิยมทั่วไปในล้านนา เช่นเดียวกับทางภาคกลางและภาคอีสาน
การเทศน์มหาชาติในล้านนานั้นเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นชาติที่ 10 เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ ซึ่งนอกจากนี้ยังนิยมจัดทำเขียนเป็นจิตรกรรม ทั้งเป็นจิตรกรรมบนฝาผนังและภาพพระบฏ เพื่อเป็นการขยายความให้เหล่าศรัทธาทั้งหลาย ให้มีความเข้าใจประกอบการเทศน์ และเช่นเดียวกันกับที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร มีการเขียนจิตรกรรมบนฝาผนังทิศตะวันออก เรื่องมหาเวสสันดรชาดกไว้ถึง 5 ช่องผนัง จิตรกรรมบริเวณนี้มีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมจากกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ยังคงมีรูปแบบของศิลปกรรมของอยุธยาตอนปลาย นำมาผสมผสานกับรูปแบบของพื้นเมืองน่านในยุคนั้น ที่น่าจะเป็นช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 คือในช่วงของรัชสมัย รัชกาลที่ 3 เนื่องจากมีรูปแบบของจิตรกรรมมีศิลปกรรมแบบจีน ปรากฎอยู่ด้วยกันค่อนข้างมาก เพราะเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงนั้น
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
05/03/2567
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน  จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20240304_MR_วัดพระธาตุช้างค้ำ_10
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน  จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
2,288 x 575 cm
DIGITAL SIZE:
20267 x 28679  Pixels