วัดป่าเหมือด ทิศใต้ 1.3

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพฝั่งขวาเป็นภาพพระมาลัยหลังกลับมาจากสวรรค์ ได้มาเทศโปรดแก่มนุษย์ ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ ในภาพน่าจะเกิดที่แคว้นโลหะชนบท ทวีปลังกา ซึ่งเป็นเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ พระมาลัยจะมีสัญญลักษณ์ในการถือพัดใบตาล (ตาลปัตร) ไว้ในมือเป็นเครื่องหมายประจำพระองค์เสมอ หรือบางครั้งก็ทำเป็นพัดยศ ตามแบบพระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์ ถวายแก่พระมาลัยเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องจากพัดเป็นเครื่องหมายในการแสดงธรรม ใช้สวดธรรม และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระมาลัยเป็นพระอรหันต์ผู้โปรดสัตว์ในยมโลก เทวโลก และมนุษยโลก จึงถือพัดเครื่องหมายการแสดงธรรมเป็นสัญลักษณ์ ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นธรรมเนียมนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน ด้านหน้าตั้งหม้อดอกปักดอกไม้เป็นการบูชา มีเหล่ากษัตริย์และสตรีสูงศักดิ์มาประทับนั่งฟังเทศนา เครื่องทรงของเหล่ากษัตริย์ จะเป็นรูปแบบเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ คือ เปลือยอกสวมพระชฎา มีกรรเจียกคือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก สวมกรองศอและอินทรธนู มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่งหรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ส่วนสตรีสูงศักดิ์มีการแต่งกายผสมผสานระหว่างทางกรุงเทพและล้านนาคือ เปลือยอกสวมกรองศอและอินทรธนู มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งผ้าซิ่นที่เป็นที่นิยมในล้านนา เรียกว่า “ซิ่นต๋า” คือผ้าซิ่นที่มีแนวขวางลำตัวอันเป็นเอกลักษณ์ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา แต่ชายผ้าซิ่นปรากฎชายแครงปรกอบผาซิ่นด้วย มุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ ในส่วนนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีการซ่อมแซมจิตรกรรมี่ผิดไปจากเดิม เนื่องจากรูปแบบของมวยผม มิใช่ทรงมวยผมที่เรียกว่า “วิดว้อง” ที่ต่างกับจิตรกรรมที่เขียนไว้บนฝาด้านิศเหนือ ( ดูรูปแบบมวยผม “วิดว้อง” ของฝาทิศเหนือได้ใน relation ) ส่วนหูมีการเจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมของทางรัตนโกสินทร์เข้ามาผสมผสาน
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220704_MR_วัดป่าเหมือด_03
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
129 x 47 cm
DIGITAL SIZE:
19836 x 3934  Pixels

Loading