ภาพพระบฏวัดนาเตา 7

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ด้านล่างเป็นจิตรกรรมที่น่าจะเขียน 2 เรื่องราวไว้รวมกันคือ เรื่องแรกเป็นเหตุการณ์ตอนที่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา ซึึ่งในวันนี้ที่เรียกว่า “วันวิสาขะ” มีอีกชื่อว่า “พุทธชยันตี หรือ  พุทธปูรณิมา” พระพุทธเจ้าในพระอิริยาบทที่เรียกว่าปางตรัสรู้คือ นั่งขัดสมาธิราบพระหัตถ์ทั้งสองหงายวางซ้อนกันบนพระเพลา  คือพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย  พระชงม์ขวาทับพระชงม์ซ้าย โดยมีเหล่าเทวดามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในการได้ตรัสรู้บรรลุโสดาบัน รอบข้างทั้งซ้ายและขวาของพระสัมมาพระพุทธเจ้า ด้านบนเหนือขึ้นไปเป็นภาพเหล่าเทวดามาปัดเป่า เหล่ามารที่มาผจญเพื่อไม่ให้พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ โดยมีภาพเหล่ามารอยู่มุมบนทั้งด้านขวาและด้านซ้าย 

ส่วนอีกเหตุการณ์ที่นำมาเขียนไว้ด้วยคือ ตอนพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ คือ กลุ่มนักบวชที่ตั้งขึ้นมา เป็นนักบวชที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธในฐานะภิกษุชุดแรกที่เข้ามาบวชเป็นสาวก มีทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ หรือที่เรียกว่า “วันอาสาฬหะ” ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีพระภิกษุอีก 3 องค์ประทับอยู่เบื้องหลังพระพุทธเจ้า 

ในการที่พระธรรมชัยท่านได้วาดทั้งสองเหตุการณ์ ทั้งตอนที่พระสัมมาพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และที่แสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ในส่วนด้านล่างของพระบฏผืนนี้ สันนิษฐานได้จากคำจารึกที่ด้านหลังของผ้าพระบฏผืนนี้ ที่มีใจความว่า “พึงได้รับซึ่งพระอรหันต์ผล คือวิโมกขธรรม 8 ประการซึ่งประดับประดาด้วยปฏิสัมภิทา 4 และอภิญญา 6 ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาลด้วยเทอญ” ซึ่งแปลได้ประมาณว่า ความหลุดพ้น, การขาดจากความพัวพันแห่งโลก มีปัญญาแตกฉาน 4 ประการ ประกอบด้วยความรู้อย่างยิ่งยวด 6 ประการ เพื่อได้บรรลุนิพพานดุจดัง พระพุทธสัมมาพระพุทธเจ้าและปัญจวัคคีย์  และอีกประการหนึ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นที่ว่าเป็น รูปแบบการเขียนจิตรกรรมผสมผสานกับศิลปกรรมพื้นถิ่นของเมืองน่าน จึงมิจำเป็นที่ต้องตรงตามแบบแผน งานของศิลปกรรมจากกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/02/2566
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดนาเตา อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
ปีพุทธศักราช 2358
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดนาเตา อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
พระบฏทั้งผืน ขนาด 235 x 108 cm
DIGITAL SIZE:
24000 x 18652 Pixels