ภาพเขียนบนกระดาษ (ปั๊บสา) วัดหนองบัว – คู่ที่ 2 (ด้านหน้า)

SKU: DC_MR_02_29_20191008_MR29-02.1_03 Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพปั๊บสาวัดหนองบัวคู่ที่สองด้านหน้า

ภาพลายเส้นบนปั๊บสาวัดหนองบัวคู่ที่สองด้านหน้า วาดเป็นภาพหญิงแต่งกายแบบหญิงสาวในเมืองน่านนั่งอยู่บนแท่นคนเดียวเต็มทั้งสองหน้าของปั๊บสา เป็นภาพของหญิงสาวเมืองน่านที่น่าจะเป็นหญิงที่มีฐานะดีหรืออาจจะเป็นนางในวรรณคดีที่วาดในรูปแบบของหญิงเมืองน่าน ซึ่งภาพนี้มีความคล้ายกับภาพวาดขนาดใหญ่ข้างประตูฝั่งซ้าย(เมื่อมองออกจากวิหาร)บนผนังฝั่งทิศใต้ของวัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่าน และยังมีท่าทางคล้ายคลึงกับภาพหญิงสาวที่มีท่าทางโศกเศร้าในวิหารวัดหนองบัว ที่ฝาผนังฝั่งทิศเหนือในห้องที่ 4 อีกด้วย ภาพลายเส้นภาพนี้นับว่ามีความสวยงามมากภาพหนึ่ง เพราะสามารถวาดภาพของหญิงสาวที่ทำให้เห็นถึงความโศกเศร้า และสื่อสารส่งต่อความรู้สึกให้แก่ผู้ชมได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ในภาพนี้เป็นเพียงไม่กี่ภาพในปั๊บสาเล่มนี้ที่นอกจากใช้หมึกดำแล้วยังมีการใช้หมึกแดงวาดลงไปในภาพด้วย

การแต่งกายของหญิงภายในภาพคือ ทรงผมจะเป็นผมยาวโดยนำมามุ่นมวยผมสองชั้นและชักเส้นปอยผมออกมาเป็นวง ที่ติ่งหูมีการเจาะใส่“ลานหู” หรือ “ลานพัน” (ออกเสียงลานปัน) เครื่องประดับลักษณะเป็นแผ่นม้วนกลมทำจากวัสดุหลากหลาย ตั้งแต่ใบลาน ไปจนถึง เงิน หรือ ทองคำ ใช้สอดใส่รูที่เจาะตรงติ่งหู เป็นที่นิยมในวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวล้านนาสมัยโบราณ ลานหูยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม ทั้งยังมีความเชื่อว่าการใส่ลานหูจะทำให้มีติ่งหูยาวคล้ายพระพุทธเจ้า เป็นลักษณะของผู้มีบุญ และจะมีอายุยืน เปลือยอกมีผ้าแถบลายมาคล้องคอพาดไปด้านหลัง นุ่งผ้าซิ่นตีนจกของหญิงชาวไทยวนในล้านนาที่เป็นรูปแบบเฉพาะของเมืองน่าน คือเป็นผ้าซิ่นที่ต่อด้วยลวดลายจกด้านล่างสุดของผ้าซิ่น ส่วนด้านบนคือท้องซิ่นตามปกติของผ้าซิ่นตีนจกของหญิงชาวไทยวนในล้านนาจะเป็น”ซิ่นต๋า”ที่มีแนวเส้นขวางในท้องซิ่น แต่ซิ่นตีนจกของเมืองน่านจะนิยมใช้”ซิ่นป้อง”นำมาเป็นท้องซิ่นแทน ซึ่งซิ่นป้องของเมืองน่านนั้นจะมีลวดลายในแนวขวางลำตัวและมีการตกแต่งลวดลายเพิ่มเติมด้วยกรรมวิธีการทอแบบต่างๆที่ให้เกิดลวดลาย กรรมวิธีการทอที่นำมาใช้มีตั้งแต่ การจก การล้วง(tapestry weaving) การยก การมัดก่าน(มัดหมี่) และการยกมุก(ขิด) จึงทำให้ผ้าซิ่นป้องมีความสวยงามมากกว่าซิ่นต๋าของหญิงชาวไทยวนในล้านนาทั่วๆไป ด้านข้างมีลายเส้นของแท่นที่นั่งและหมอนที่ชาวล้านนาเรียกว่า”หมอนสี่”(หมอนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่)ที่หญิงสาวนั่งท้าวแขนอยู่ พร้อมทั้งหมอนสามเหลี่ยมที่อยู่ถัดไปที่ชาวล้านนาเรียกว่า “หมอนผา”

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
ปั๊บสา (คัมภีร์ธรรมล้านนา)
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ปั๊บสา (คัมภีร์ธรรมล้านนา)
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
DC_MR_02_29_20191008_MR29-02.1_03
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมบนปั๊บสา (คัมภีธรรมล้านนา)
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels