จิตรกรรมมุขทิศเหนือฝั่งตะวันตก 1.30

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

เขียนภาพขบวนแห่มารดาของคัทธณะกุมารเข้าเมือง เพื่อถวายตนเป็นบาทบริจาริกา เเละเข้าอภิเษกกับพญาศรีษะเกษ 

ในภาพมารดาของคัทธณะกุมารแต่งกายคล้ายเจ้านายในเมืองน่านและในล้านนาในสมัยนั้น คือด้านบนเปลือยอก นำมาแถบมาห่มแบบสไบ ในล้านนาเรียกว่า “ห่มผ้าสะหว้ายแล่ง” นุ่ง “ซิ่นตีนจกคำ” หรือ ซิ่นตีนจกทองคำ เป็นซิ่นที่นิยมสวมใส่ในหมู่เจ้านายฝ่ายหญิงในล้านนา ซิ่นตีนจกคำนี้มีรูปแบบเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์ของเมืองน่าน คือท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง มีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอแบบต่างๆทำให้เกิดลวดลายเพิ่มในแนวเส้นขวางลำตัว ส่วนด้านล่างต่อด้วย “ตีนจกคำ” คือ ตีนซิ่นที่ทอด้วยกรรมวิธีการจกและมีการสอดแทรกไหมทองคำ หรือ ไหมเงินลงไปเพื่อให้ดูมีค่ามากยิ่งขึ้น “ตีนจก” นี้เป็นตีนซิ่นที่นิยมกันในหญิงชาวไทยวนในล้านนา นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างเดียวกับตีนจกของหญิงชาวไทยวนในล้านนา บนศรีษะไว้ผมยาวมุ่นมวยไว้ เรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน ที่ทำจากแผ่นเงินหรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำที่ข้อมือและต้นแขน และไม่สวมรองเท้า 

ส่วนนางกำนัลที่ถือร่มแต่งกายแบบหญิงในเมืองน่านในยุคนั้น คือ ด้านบนเปลือยอก นำมาแถบมาห่มแบบสไบ ในล้านนาเรียกว่า “ห่มผ้าสะหว้ายแล่ง” นุ่งซิ่นซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัวดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา มีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่ บนลายเส้นในแนวขวางลำตัว ซิ่นป้องถือเป็นผ้าซิ่นที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์ สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น บนศรีษะไว้ผมยาวมุ่นมวยไว้ เรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ มัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือ สร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองเท้า 

ส่วนสารถีรถม้าสวมเครื่องเเต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากกรุงเทพ เเล้วนำมาผสมผสานกับการแต่งกายที่นิยมกันในหมู่ชายหนุ่มในเมืองน่าน คือ ใส่เสื้อทำจากผ้าพื้นคอกลมแขนยาว นุ่งผ้าลายดอกผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ตัดผมสั้นสวมหมวกแก็ป

ส่วนราชรถและม้าเทียมมีการตกแต่งประดับประดาอย่างงดงาม

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels