จิตรกรรมฝาผนังมุขทิศเหนือ ส่วนกลาง 1.12

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนเรื่องราวในตอนที่เจ้าคัทธณะกุมารไปพบกับชายเกวียนร้อยเล่ม เเละได้เข้าปะลองกัน โดยเจ้าคัทธณะกุมารเหยียบท้ายเกวียนไว้ เเล้วจึงให้ชายเกวียนร้อยเล่มลากเกวียนนั้น จนสายเชือกขาด ทำให้ชายเกวียนร้อยเล่มล้มหน้าคว่ำลงกระแทกพื้น ชายเกวียนร้อยเล่มโมโหเป็นอันมาก จึงวิ่งเข้าใส่เจ้าคัทธณะกุมารหมายจะทำร้าย กระนั้นเจ้าคัทธณะกุมารจึงใช้พระหัตถ์จับไหล่นายเกวียนร้อยเล่มกดลงไปกับพื้นดินเช่นเดียวกับที่ทำกับชายไม้ร้อยกอ เเละเมื่อมิสามารถต่อกรกับเจ้าคัทธณะกุมารได้ จึงยกมือไหว้ส่งเสียงร้องขอชีวิตจากเจ้าคัทธณะกุมาร เมื่อเจ้าคัทธณะกุมารเห็นดังนั้นก็เกิดความเมตตาเฉกเช่นเดียวกับชายไม้ร้อยกอ จึงดึงชายเกวียนร้อยเล่มขึ้นจากดิน ชายเกวียนร้อยเล่มสำนึกในพระคุณเป็นอันมาก จึงขอเป็นข้ารับใช้ติดตามเจ้าคัทธณะกุมารต่อไป

ในบริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ด้วยกันหลายชุด ประกอบด้วย ชุดอักษรล้านนาบริเวณที่ชายร้อยเกวียนล้ม อ่านได้ความว่า “เชือกเกียรปุด” แปลว่า “เชือกเกวียนขาด” ถัดขึ้นไปเหนือเกวียน ความว่า “กำบ่านี้” แปลว่า “เจ้านี้นะ” ถัดขึ้นไปบริเวณด้านบนสุด อ่านได้ความว่า “เจ้าคัทธณะเอาเกวียนร้อยเหล้มทั่งลงขี้ดินเพียงหัวแหล่นี้แล” แปลได้ว่า “เจ้าคัทธณะกุมารกดชายร้อยเกวียนลงจมดินเหลือแต่ส่วนหัวไว้” เเละอักษรล้านนาชุดสุดท้ายบริเวณด้านหน้าของชายร้อยเกวียน อ่านได้ความว่า “ข้าเจ้าขอเทอะ” แปลว่า “ข้าขอขมาต่อเจ้าด้วย” 

ในภาพเจ้าคัทธณะกุมารทรงเครื่องแบบกษัตริย์ของไทย คล้ายกับการแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือสวมเสื้อแขนยาว สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่ง หรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันหมายถึงกางเกง ส่วนในราชาศัพท์ใช้ว่า “พระสนับเพลา” เหน็บดาบศรีกัญไชยไว้ที่เอว และสวมฉลองบาทเชิงงอน

 ส่วนชายเกวียนร้อยเล่มแต่งกายคล้ายกับชายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ซึ่งน่าจะรับเอาอิทธิพลการแต่งกายมาจากภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าพื้นสีเรียบ นำผ้าแถบสีแดงมามัดศีรษะ นุ่งผ้าพื้นเรียบผืนเดียวที่เรียกว่า “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขา เป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ไว้ผมทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels