วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 7(กัณฑ์ที่ 13)1.5

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพเขียนบริเวณบนผนังช่องสุดท้ายของฝาผนังทิศเหนือ เขียนภาพในตอนที่เจ้าจันทคาธและเหล่าบริษัทปลูกเรือนพักอาศัยในป่าไผ่ ดังเนื้อหาตอนหนึ่งความว่า “เมื่อชาวเมืองอนูปมนครทราบข่าวว่าพระนางพรหมจารียกทัพมาเพื่อแก้แค้น ทำให้ชาวเมืองแตกตื่นกลัวภัยหนีเตลิดเปิดเปิงไป ขณะนั้นเจ้าจันทคาธจึงแจ้งแก่ชาวเมืองว่า มาเถิดไปอย่าอยู่เสียในเขตกองพัพ จึงพาชนเหล่านั้นออกจากบ้าน ไปอยู่ในป่าไผ่ทำไร่ปลูกพืชพันธ์ต่างๆ อีกทั้งยังมีเศรษฐีพร้อมลูกสาวและบริวารมาขอพึ่งใบบุญด้วย และเศรษฐีได้ยกลูกสาวให้เป็นบาทบริจาริกาแก่เจ้าจันทคาธ จากนั้นเจ้าจันทคาธได้พาบริษัทเหล่านั้นไปอยู่ป่าไผ่ ตัดเอาไม้ไผ่มาทำรั้วบ้าน แล้วจารึกอักษรว่า บ้านนี้ของจันทคาธ พวกกองทัพอย่าได้ทำอันตราย เจ้าจันทคาธพร้อมด้วยบริวารทำไร่อยู่ริมหนทาง”ครั้นนั้นพวกของพระนางพรหมจารีล่วงหน้ามา เห็นเจ้าจันทคาธกับบริวารแต่ไกล มุ่งจะมาจับ วิ่งมาใกล้จำได้จึงลงกราบที่พระบาท เจ้าจันทคาธจึงถามว่า “จะไปไหน” พวกเหล่านั้นจึงแจ้งว่า “จะไปแก้แค้นพระเจ้าสุทัสสนจักร” แล้วจึงกราบไหว้แล้วก็ลาไป ถึงเวลาเย็นเจ้าจันทคาธพาบริษัทของตนกลับไปบ้าน อาบน้ำรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ยืนอยู่ริมประตูบ้าน กระทำกิจการของตน ในขณะนั้นพระนางพรหมจารีเทวี จัดจตุรงคเสนากับขัตติยกัญญาแสนหนึ่งแวดล้อม ขึ้นคอช้างมาถึงประตูบ้านเจ้าจันทคาธ เห็นเจ้าจันทคาธเดินมาจึงมองดูนึกในใจว่านี่ใคร แล้วจำได้ จึงลงจากคอช้างมาไหว้เจ้าจันทคาธๆ กระทำปฏิสันถารเสร็จแล้วพระนางก็ลาขึ้นคอช้างไป

 ในภาพจิตรกรรมมีบางส่วนที่เลือนหายไปพอสมควร แต่ยังพอมีภาพที่เหลือให้เห็นว่ามีกลุ่มคนที่อยู่ภายในรั้วที่เป็นไม่ไผ่แห้งสีคล้ำ คนขวามือสุดน่าจะเป็นเจ้าจันทคาธ และกลุ่มคนซ้ายมือน่าจะในภาพมีเนื้อหาบางส่วนที่เลือนหายไป แต่ก็ยังพอมีภาพที่เหลือให้เห็นว่ามีกลุ่มคนอยู่ภายในรั้ว ที่ทำมาจากไม้ไผ่แห้ง มีสีคล้ำ ชายคนขวามือน่าจะเป็นเจ้าจันทคาธ และกลุ่มคนซ้ายมือน่าจะเป็นกลุ่มที่ติดตามเจ้าจันทคาธมาอาศัยอยู่ในป่าไผ่ มีรูปแบบการแต่งกายที่น่าจำได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ คือ ใส่เสื้อแขนยาวนุ่งโจงกระเบน ตัดผมทรงมหาดไทย และไม่สวมรองเท้า ส่วนทหารสองคนด้านบนแต่งกายแบบที่มาจากกรุงเทพ เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีลวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้ แต่มีการสวมหมวกแบบฝรั่งที่นิยมกันในสมัยรัชกาลที่ 5 และยังใช้กล้องส่องทางไกลแบบฝรั่ง ซึ่งช่างเขียนน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศอีกด้วย

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels