จิตรกรรมทิศใต้ฝั่งตะวันตก 1.10

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณเสาวิหารของฝาผนังฝั่งทิศใต้ เป็นภาพของพญากามมธา เจ้าเมืองจำปานคร ที่กำลังทรงกรรณเเสง บนหลังม้า เพื่อเสด็จมาส่งพระนางสีดา พระราชธิดา ที่อาสาสละชีวิตเป็นเครื่องสังเวย ตามคำมั่นสัญญาของพระบิดา ว่าจะส่งนักโทษมาเป็นอาหารแก่นางยักษ์ทุกวัน วันละ 1 คน 

ถัดมาเป็นภาพเขียนบริเวณสุดมุมซ้าย เขียนภาพชายผู้หนึ่ง ในมือถือไม้คานติดเนื้อและน้ำเน่า เพื่อเป็นอุบายล่อให้นางยักษ์เกิดความสนใจเนื้อเน่าที่ติดอยู่ปลายไม้เเทนการกินนางสีดากิน

ในบริเวณนี้มีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ด้วยกัน 2 ชุด ประกอบด้วย อักษรชุดแรกบริเวณด้านหน้าพญาเมืองจำปานคร อ่านได้ความว่า “พญาเมืองจำปาแห่เอาลูกสาว…หื้อยักกินแล” แปลได้ว่า “พญาเมืองจำปาแห่เอาธิดา…ไปให้ยักษ์กิน”  ถัดมาเป็นชุดอักษรบริเวณด้านล่าง อ่านได้ความว่า “ไม้คาน…..หนี้เล่าห่อเนื้อแลน้ำเน่าห่อปลายไม้คานมันหั้นเพื่อ…”  แปลได้ประมาณว่า “เอาไม้คานมาห่อเนื้อและน้ำเน่าเพื่อมาล่อนางยักษ์ จะได้ไม่มากินนางสีดา”  

ในภาพพญากามมธา เจ้าเมืองจำปานคร ทรงเครื่องแบบกษัตริย์อย่างไทย หรือ การแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ สวมพระมหามงกุฎ หรือ พระชฎา มีกรรเจียก คือ เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก สวมกรองศอและอินทรธนูทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลา คือ กางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่งหรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา 

ส่วนเหล่าเสนาอมาตย์และทหารด้านหลังขบวน สวมเครื่องแต่งกายคล้ายชายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ สวมเสื้อแขนยาวคอกลม ทำจากผ้าพื้นเรียบและผ้าที่มีลวดลาย ไว้ทรงทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ ในมือถือปืนคาบศิลา

ส่วนชายที่ถือไม้คานติดเนื้อเเละน้ำเน่า บริเวณด้านล่าวของภาพ สวมเสื้อคอกลมแขนยาวทำจากผ้าพื้นเรียบ นุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวเรียกว่า นุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ “เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือ โจงกระเบน ไว้ทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
62,342×20,703 Pixels