วัดป่าเหมือด ทิศใต้ 2.2

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมเริ่มเล่าเรื่องที่ช่องด้านซ้ายเป็นกัณฑ์แรกของพระเวสสันดรชาดกคือ กัณฑ์ทศพร มีความว่า กัณฑ์ที่ 1 กัณฑ์ทศพร เป็นเรื่องของนางผุสดีพระมารดาของพระเวสสันดร เรื่องของพระนางผุสดีนี้มีอยู่ว่า ในอดีตชาติเป็นมเหสีของท้าวอมรินทราธิราชทรงพระนามว่าผุสดี ครั้งเมื่อถึงวาระที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์เป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร ท้าวสักกะเทวราชสวามีทรงทราบว่าพระนางผุสดีเทพอัปสรจะสิ้นบุญ จึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก แล้วประสาทพรตามที่พระนางผุสดีขอประทานพร 10 ประการ คือ        

       – ขอให้พระนางได้ประทับอยู่ในปราสาทของพระเจ้าสีพีราชแห่งนครสีพี

       – ขอให้ดวงเนตรทั้งสองมีสีดำประดุจตาลูกเนื้อทราย

       – ขอให้มีพระขนงโก่งงามเขียวดุจสร้อยคอนกยูง

       – ขอให้มีพระนามว่าผุสดีเหมือนเดิม

       – ขอให้มีพระโอรสที่ทรงพระเกียรติยศเกรียงไกรยิ่งกว่ากษัตริย์ทั้งหลายและมีพระราชศรัทธาในการกุศล

       – ในเวลาทรงพระครรภ์ขออย่าให้ครรภ์นูนปรากฏดังสตรีสามัญ

       – ขอให้พระถันทั้งคู่งามในเวลาทรงครรภ์และเมื่อประสูติแล้วขออย่าให้หย่อนคล้อย

       – ขอให้เส้นพระเกศาดำเป็นมันดุจสีปีกแมลงค่อมทองตลอดไปอย่าได้หงอกขาว

       – ขอให้พระฉวีละเอียดดุจดังทองคำธรรมชาติสดใสสง่างามไม่มีที่ตำหนิ

       – ขอให้ทรงมีโอกาสปลดปล่อยนักโทษประหารชีวิตให้พ้นโทษ

       ซึ่งสมเด็จพระอมรินทราธิราชก็ทรงประสาทพรให้ได้ดังประสงค์

ในภาพเรื่องราวจะแบ่งเป็นสองส่วนคือด้านขวาเป็นหญิงสองคนนั่งประนมมือ เข้าเฝ้าพระสัมมาพระพุทธเจ้า ส่วนฝั่งซ้ายน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่พระนางผุสดีเข้าเฝ้าพระอินทร์เพื่อขอพร 10 ประการ รูปแบบงานสถาปัตยกรรมของศาลาที่ประทับของพระสัมมาพระพุทธเจ้าและปราสาทที่ประทับของพระอินทร์ มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์ นำมาผสมผสานกับรูปแบบของท้องถิ่นในเมืองน่าน ส่วนเครื่องทรงของพระอินทร์สวมพระมหามงกุฎ และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน ด้านล่างเห็นเฉพาะบางส่วน ที่น่าจะนุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง ส่วนพระนางมัทรีและหญิงที่น่าจะเป็นนางสมนกำนัล แต่งกายแบบหญิงโบราณสูงศักดิ์ของเมืองน่านคือ ด้านบนเปลือยแต่นำผ้าแถบมาห่มแบบคล้องคอห้อยชายทั้งสองไปด้านหลัง และนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” สวมกรองศอ และกำไลต้นแขน นุ่งซิ่นที่เรียกว่า “ซิ่นเคิ้บ” เป็นซิ่นที่มีลักษณะเฉพาะที่สามารถพบได้ในแถบเมืองน่านเท่านั้น เป็นซิ่นที่มีแนวขวางลำตัวแบบ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวน และ “ซิ่นเคื่อง” ของหญิงชาวไทลื้อ แต่“ซิ่นเคิ้บ” มีการออกแบบโครงสร้างใหม่และตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอหลากหลายวิธี ทำให้เป็นซิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ในภาพน่าจะตกแต่งลวดลายด้วยกรรมวิธีหลากหลายกรรมวิธีตั้งแต่ กรรมวิธีการทอแบบ “ล้วง” ที่ทำให้เกิดลวดลายคล้ายคลื่นในช่วงกลางซิ่นสลับเป็นช่วงๆ ส่วนด้านล่างน่าจะเกิดจากกรรมวิธีการทอแบบขิด หรือที่ในเมืองน่านเรียกว่า “เก็บมุก ยกมุก หรือเก็บดอก” หรืออาจจะทอด้วยกรรมวิธีการจก ก็อาจจะเป็นได้ ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ มัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง และไม่สวมรองเท้า  ในส่วนนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีการซ่อมแซมจิตรกรรมี่ผิดไปจากเดิม เนื่องจากรูปแบบของมวยผม มิใช่ทรงมวยผมที่เรียกว่า “วิดว้อง” ที่ต่างกับจิตรกรรมที่เขียนไว้บนฝาด้านิศเหนือ ( ดูรูปแบบมวยผม “วิดว้อง” ของฝาทิศเหนือได้ใน relation )

ส่วนหญิงคนแรกที่นั่งอยู่ด้านหน้าพระสัมมาพระพุทธเจ้านุ่ง “ซิ่นต๋า” เป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำคัว นิยมใส่ทั่วไปของหญิงชาวไทยวนในล้านนา

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:

รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมของทางรัตนโกสินทร์เข้ามาผสมผสาน                                                                                                                                                                         

จิตรกรรมภาพพระนางมัทรี ในช่องที่ 1 ของฝาทิศเหนือ ที่ช่างได้เขียนจิตรกรรมรูปแบบของผมมวยแบบ “วิดว้อง” ได้อย่างถูกต้องตามแบบผมมวย ที่หญิงในดินแดนแถบนี้นิยมทำกัน
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220704_MR_วัดป่าเหมือด_05
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
130 x 45 cm
DIGITAL SIZE:
19836 x 3934  Pixels

Loading