วัดป่าเหมือด ทิศใต้ 4.3

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมเป็นเรื่องราวที่นางอมิตดาโดนเหล่าภรรยาของพราหมณ์คนอื่น มาด่าทอต่อว่าเนื่องจากนางอมิตดาขยันมากเกินไป จึงเป็นเหตุให้นางอมิตดาบอกให้ชูชกไปขอพระกัญหาพระชาลีจากพระเวสสันดร มาให้รับใช้แทนนาง ขวาสุดเป็นเหตุการณ์ที่เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวว่าชูกจะไปขอพระสองกุมาร ก็เลยไม่พอใจปล่อยหมามาไล่กัดชูชก การแต่งกายของนางอมิตดาและเหล่าภรรยาของพราหมณ์คือ นางอมิตดาใส่เสื้อแขนยาว ส่วนเหล่าภรรยาของพราหมณ์มีการแต่งกายูปแบบของหญิงในแถบนี้ คือเปลือยอกหรือมีผ้ามาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ “สะหว้ายแล่ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” ทั้งหมดนุ่งผ้าซิ่นที่ในเมืองน่านเรียกว่า “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ  ในส่วนนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีการซ่อมแซมจิตรกรรมี่ผิดไปจากเดิม เนื่องจากรูปแบบของมวยผม มิใช่ทรงมวยผมที่เรียกว่า “วิดว้อง” ที่ต่างกับจิตรกรรมที่เขียนไว้บนฝาด้านิศเหนือ ( ดูรูปแบบมวยผม “วิดว้อง” ของฝาทิศเหนือได้ใน relation )

ส่วนชูชกนุ่งผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน สะพายย่ามที่มีลวดลายเป็นคลื่นสีขาวแซงดำ ส่วนพรานนั้นใาเสื้อคล้านเสื้อยันต์แขนกุด โพกผ้าแถบที่ศีรษะสวมกางเกงขาสั้น สะพายกระบอกน้ำที่ทำจากไม้ไผ่ท่อนยาว ในมือถือไม้เรียวไล่ต้อนสุนัข

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:

รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมของทางรัตนโกสินทร์เข้ามาผสมผสาน                                                                                                                                                                         

จิตรกรรมภาพพระนางมัทรี ในช่องที่ 1 ของฝาทิศเหนือ ที่ช่างได้เขียนจิตรกรรมรูปแบบของผมมวยแบบ “วิดว้อง” ได้อย่างถูกต้องตามแบบผมมวย ที่หญิงในดินแดนแถบนี้นิยมทำกัน
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220704_MR_วัดป่าเหมือด_12
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
140 x 46 cm
DIGITAL SIZE:
19836 x 3934  Pixels

Loading