วัดป่าเหมือด ทิศเหนือ 4.2

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมในช่องนี้เริ่มเล่าเรื่องที่กลางภาพ เป็นเรื่องราวที่พระกัณหาและพระชาลี ทูลขอให้พระเจ้าสญชัยไปรับ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับคืนพระนคร ในภาพพระกัณหาและพระชาลีนั่งประนมกรต่อหน้า พระเจ้าสญชัยและพระนางผุสดี มีขันดอกคำทอดอยู่เบื้องหน้า ด้านหน้ามีเหล่าเสนาอมาตย์หมอบเฝ้าเป็นจำนวนมาก เครื่องทรงของพระเจ้าสญชัย สวมพระมหามงกุฎ และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งโจงกระเบนทับสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง ส่วนเครื่องทรงของพระนางผุสดีนั้น เปลือยอกสวมกรองศอมีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งผ้าซิ่นที่ในเมืองน่านเรียกว่า “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น เครื่องทรงของพระกัณหานั้น สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกสวมกรองศอมีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งผ้าซิ่นที่ในเมืองน่านเรียกว่า “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น เครื่องทรงของพระชาลีสวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกสวมกรองศอมีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งผ้าโจงกระเบนลายตารางมีผ้าคาดเอว 

เหล่าเสนาอมาตย์ที่หมอบเฝ้า มีการแต่งกายแบบชายที่แต่งในยุคนั้นคือ มีการผสมผสานแบบดั่งเดิมและที่ได้รับจากทางรัตนโกสินทร์ คือบางคนเปลือยอกบางคนใส่เสื้อคอกลมแขนยาวบางคนมีผ้าคาดเอว นุ่งโจงกระเบนที่ใช้ผ้าพื้นสีเรียบและผ้าพื้นลาย ไว้ผมลองทรงบางคนไว้ผมทรงมหาดไทยมีรูปแบบคือไว้ผมกลางกระหม่อม โกนรอบข้างจนเกรียน ทำให้ผมตรงกลางมีรูปเหมือนพระอาทิตย์เดิมมีชื่อว่า “มหาอุไทย” นานไปการเขียนสระอุ ก็กลายเป็น ฤ กลายเป็น “มหาฤทัย” ต่อไปเขียน ฤ เป็น ฎ เลยกลายเป็น “มหาฎไทย” ก่อนจะมาใช้ ด แทน เลยกลายเป็น “มหาดไทย” อย่างในทุกวันนี้

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมของทางรัตนโกสินทร์เข้ามาผสมผสาน
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220704_MR_วัดป่าเหมือด_31
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
122 x 47 cm
DIGITAL SIZE:
19836 x 3934  Pixels

Loading