ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดทุ่งคา – แผ่นที่ 4 กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์

SKU: 02_25_20150207_MR25-01_04 Category:

Description

Digital Data

TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
แผ่นที่ 4 กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์
เป็นภาพเหตุการณ์ตอนที่พราหมณ์ทั้ง 8 จากเมืองกลิงคราฐเข้าเฝ้าพระเวสสันดรเพื่อทูลขอช้างปัจจัยนาเคน 
ความเดิม
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช  เมื่อเจริญชนม์ได้ 16 ชันษาจึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสัญชัย แห่งสิพีรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า “เวสสันดร”ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมีให้มีนามว่า “ปัจจัยนาค” เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ 16 พรรษา พระราชบิดาก็ยกสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชธิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส 1 องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดา ชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อพระเจ้าเมืองกลิงคราชแห่งนครกลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาเคน เนื่องจากเมืองกลิงครัฐเกิดความแห้งแล้งและช้างปัจจัยนาเคนมีอิทธิฤทธิ์ที่สามารถทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลได้ พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้แก่พระเจ้าเมืองกลิงคราฐ ชาวกรุงสิพีโกรธแค้นจึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
พระเวสสันดรทรงประทับอยู่กลางปราสาททรงเครื่องทรงแบบทางกษัตริย์ ส่วนพระนางมัทรีทรงประทับฝั่งขวาของปราสาทมีรูปแบบการแต่งกายคือ เปลือยอกมีผ้ามาคลุมไหล่มุ่นมวยทรงสูงไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า” เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ส่วนพราหมณ์ขณะเข้าเฝ้าพระเวสสันดรเครื่องแต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของชายไทยในกรุงเทพคือ ใส่เสื้อแขนยาวสวมโจงกระเบน ด้านหน้าปราสาทมีการจัดเลี้ยงพราหมณ์ ซึ่งมีการแต่งกายที่หลากหลายหญิงที่มีการแต่งกายคือ สวมเสื้อแขนยาวมุ่นมวยทรงสูงไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ และยังมีหญิงอีก 2 คนมุ่นมวยทรงสูงไว้ด้านหลังนั่งคลุมผ้าห่มที่เรียกว่า ผ้าห่มขาวแซงแดงดำ
ส่วนชายมีการแต่งกายหลายแบบด้วยกันคือ ชาบที่ยืนซ้ายมีการแต่งกายแบบชาวจีน สวมหมวกเจ็กไว้ผมหางเปียสวมเสื้อคอตั้งแขนยาว ใส่กางเกงสามส่วน ส่วนชายอีกหลายคนเครื่องแต่งกายที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของชายไทยในกรุงเทพคือ ใส่เสื้อแขนยาวสวมโจงกระเบน ฝั่งขาวสุดมีชายอีก 4 คนนั่งรับประทานอาหารจากโตกและกล่องเครี่องเขินของล้านนา นั่งห่มผ้าห่มทั้ง 4 คน
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
02_25_20150207_MR25-01_04
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
View map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels

Loading