จิตรกรรมฝามุขทิศตะวันออกฝั่งด้านใต้ 1.14

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนเหล่าชาวเมืองชวาทบุรีที่กำลังเดินกลับเข้าเมืองภายหลังจากฟื้นคืนจากความตาย ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ ประกอบด้วย ชุดอักษรล้านนาบริเวณด้านหน้ากำแพงเมือง อ่านได้ความว่า “คนเข้าเมือง” แปลว่า “ชาวเมืองชวาทบุรีเดินกลับเข้าเมือง” ถัดมาเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวณฝั่งซ้ายมือ บริเวณข้างเสา มีชุดอักษรล้านนาจำนวนห้าบรรทัด ซึ่งบางส่วนลบเลือนไปจึงไม่สามารถอ่านข้อความดังกล่าวได้ ส่วนชุดอักษรที่เหลือสามารถอ่านข้อความได้ ดังนี้ 

ชุดอักษรบรรทัดที่สามอ่านได้ว่า “ร้อยเหล้มเสวย” น่าจะแปลได้ว่า “หลังจากที่เจ้าคัทธณะกุมารครองเมืองได้ 1 เดือน ก็คิดที่จะออกตามหารอยเท้าของบิดาต่อไปจึงได้มอบเมืองชวาทวดีและนางคำสิงให้ชายเกวียนร้อยเล่มครอบครองต่อไป” 

ถัดมาเป็นชุดอักษรบรรทัดที่สี่และห้า อ่านได้ความว่า “ผ่อเอาเถอะผ่อแล้วอย่าไป” บรรทัดที่ห้าอ่านได้ความว่า “ว่าแล้วบ่ฟังหื้อมันตายเป็นข้าวัดหนี้” สองประโยคนี้น่าจะมีความหมายเตือนผู้ชมว่าอย่าทำลายภาพให้เสียหาย พร้อมทั้งสาปแช่งว่า ถ้าผู้ใดทำให้ภาพจิตรกรรมเสียหาย ขอให้ตายเป็นข้าของวัดภูมินทร์ 

ในภาพจะเห็นภาพเขียนประตูเมือง ซึ่งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางภาคกลาง (กรุงเทพ)  คือ ซุ้มประตูเมืองหลังคาทรงโดมมียอดแหลม ดูคล้ายกับประตูกำแพงเมืองของกรุงเทพในสมัยนั้น 

ส่วนภาพเขียนหมู่ชายชาวเมืองที่กำลังเดินกลับเข้าเมืองนั้น สวมใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าพื้นเรียบ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ ไว้ผมทรงทรงมหาดไทย ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว ซึ่งในภาพมีทั้งการไว้แบบทรงแสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย และไม่แสกกลาง

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ สกุลช่างน่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของตนเองได้อย่างงดงาม มีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดภูมินทร์_121
SUBJECT AGE:
พุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
113×63 cm
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels

Loading