วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ทิศตะวันตก 1.0

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมช่องที่ 1  จิตรกรรมในช่องนี้เริ่มตั้งแต่บริเวณผนังระหว่างเสาที่ 6 และเสาที่ 5 จากด้านในสุด จิตรกรรมในช่องนี้มีสภาพเช่นเดียวกับจิตรกรรมทุกผนังคือ เสียหายค่อนข้างมากจิตรกรรมเหลือเพียงครึ่งบนของผนังเท่านั้น จึงเป็นการลำบากที่จะสามารถอ่านเรื่องราวและเหตุการณ์ในจิตรกรรมได้ทั้งหมด แต่ยังคงเหลือจิตรกรรมส่วนสำคัญที่ทำให้พอทราบเรื่องราวได้ จึงทำให้ทราบได้ว่าจิตรกรรมช่องนี้ เป็นเตมียชาดก เป็นชาดกเรื่องแรกในทศชาติชาดก อันมีความในชาดกดังนี้ พระเตมีย์  เป็นชื่อของพระโพธิสัตว์ในเรื่องเตมิยชาดก ชาดกเรื่องแรกใน 10 เรื่องจากทศชาติชาดก  ในเตมิยชาดกพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวช 

เตมิยชาดก กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ว่าได้รับอาราธนาจากพระอินทร์ให้จุติลงมาเกิดเป็นพระโอรสพระเจ้ากาสิกราช กรุงพาราณสี นามว่าพระเตมีย์ แปลว่า ความชุ่มชื่นยินดี เมื่อพระชนม์ ๑๑ เดือน เห็นพระบิดารับสั่งลงโทษโจรอย่างทารุณ ทรงรำลึกชาติได้ว่าครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ครองราชย์อยู่ ๒๐ ปี ครั้นตายแล้วต้องไปเกิดในนรกอยู่แปดหมื่นปี กว่าจะได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ ทรงรู้สึกเกรงกลัวว่าจะต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระราชบิดาและต้องสั่งลงโทษคนทำผิดจนต้องตกนรกอีก จึงแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกาลกิณี กระทั่งเมื่ออายุ ๑๖ ปี กำลังจะถูกฝังในป่าช้า พระราชาจึงตรัสสั่งให้นายสารถีชื่อ สุนันทะ นำพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้าพาไปที่ป่าช้าผีดิบ ให้ขุดหลุมแล้วเอาพระเตมีย์โยนลงไปในหลุมเอาดินกลบเสียให้ตาย นายสุนันทะจึงทรงอุ้มพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้าพาไปที่ป่าช้าผีดิบเมื่อไปถึงป่าช้านายสุนันทะก็เตรียม ขุดหลุมจะฝังพระเตมีย์ 

พระเตมีย์กุมารประทับอยู่บนราชรถ ทรงรำพึงว่า “บัดนี้เราพ้นจากความทุกข์ ว่าจะต้องเป็นพระราชา พ้นความทุกข์ว่า จะต้องทำบาป เราได้อดทนมาตลอดเวลา 16 ปี ไม่เคยเคลื่อน ไหวร่างกายเลย เราจะลองดูว่า เรายังคงเคลื่อนไหวได้หรือไม่ มีกำลังร่างกายสมบูรณ์หรือไม่” จึงแสดงตนพระเตมีย์ให้นายสุนันทะรู้ว่าไม่ได้ง่อยเปลี้ย และให้นายสุนันทะไปแจ้งแก่พระราชา  จากนั้นจึงได้ออกบวชรักษาศีลอยู่ในป่า เมื่อพระราชาและพระมเหสีได้ทรงทราบ ก็ทรงปลื้มปิติยินดี โปรดให้จัดกระบวนไปรับพระเตมีย์กลับจากป่า ขณะนั้น พระเตมีย์ทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในบรรณศาลาซึ่งเทวดา เนรมิตไว้ให้ เมื่อพระบิดา พระมารดาเสด็จไปถึง พระเตมีย์จึงเสด็จมาต้อนรับ ทักทายปราศรัยกันด้วยความยินดี พระราชาเห็นพระโอรสผนวชเป็นฤาษี เสวยใบไม้ลวก เป็นอาหาร และประทับอยู่ลำพังในป่า จึงตรัสถามว่าเหตุใด จึงยังมีผิวพรรณผ่องใส ร่างกายแข็งแรง พระเตมีย์ตรัส ตอบพระบิดาว่า “อาตมามีร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส เพราะไม่ต้องเศร้าโศกถึงอดีต ไม่ต้องรอคอยอนาคต อาตมาใช้ชีวิตให้เป็นไปตามที่สมควรในปัจจุบัน คนพาลนั้นย่อมซูบซีดเพราะมัวโศกเศร้าถึงอดีต เพราะมัวรอคอยอนาคต” พระราชาตรัสตอบว่า “ลูกยังหนุ่มยังแน่นแข็งแรง จะมามัวอยู่ทำอะไรในป่า กลับไปบ้านเมืองเถิดกลับ ไปครองราชสมบัติ มีโอรสธิดา เมื่อชราแล้วจึงค่อยมาบวช”พระเตมีย์ตรัสตอบว่า “การบวชของคนหนุ่มย่อมเป็นที่สรรเสริญ ใครเล่าจะนอนใจได้ว่ายังเป็นหนุ่ม ยังอยู่ไกลจากความตาย อายุคนนั้นสั้นนัก เหมือนอายุของปลาในเวลาที่น้ำน้อย” พระราชาตรัสขอให้พระเตมีย์กลับไปครองราชสมบัติ ทรงกล่าวชักชวนให้นึกถึงความสุขสบายต่างๆ พระเตมีย์จึงตรัสตอบว่า “วันคืนมีแต่จะล่วงเลยไป ผู้คนมีแต่ จะแก่ เจ็บและตาย จะเอาสมบัติไปทำอะไร ทรัพย์สมบัติและ ความสุขทั้งหลายเอาชนะความตายไม่ได้ อาตมาพ้นจาก ความผูกพันทั้งหลายแล้ว ไม่ต้องการทรัพย์สมบัติอีกแล้ว”

เมื่อพระราชาได้ยินดังนั้น จึงเห็นประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง ในการออกบวช ทรงประสงค์ที่จะละทิ้งราชสมบัติออกบวช พระมเหสี และเสนาข้าราชบริพารทั้งปวง รวมทั้งบรรดา ประชาชนทั้งหลายในเมืองพาราณสี ก็พร้อมใจกันออกบวช บำเพ็ญเพียรโดยทั่วหน้ากัน เมื่อตายไปก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความผูกพัน ในโลกมนุษย์ ทั้งนี้เป็นด้วยพระเตมีย์กุมาร ทรงมีความอดทนมีความตั้งใจ อันมั่นคงแน่วแน่ในการที่ไม่ก่อเวร ทำบาป ทรงมุ่งมั่นอดทน จนประสบผลสำเร็จดังที่หวัง เหมือนดังที่ทรงรำพึงว่า ” ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี ” ครั้นสิ้นชีวิตลงได้ไปเกิดในพรหมโลก

เรื่องราวของพระเตมีย์ นำมาใช้เป็นสำนวนเรียกคนที่ไม่ยอมพูดหรือไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด ๆ  ว่าเป็น “เตมีย์ใบ้“

ในภาพจะเห็นได้ว่าเหลือจิตรกรรมเพียงบางส่วนในช่องนี้ แต่ยังคงเหลือจิตรกรรมส่วนสำคัญที่ทำให้พอทราบเรื่องราวได้ ขึงทำให้ทราบได้ว่าจิตรกรรมช่องนี้ เป็นเตมียชาดก คือบริเวณหลุมสี่เหลี่ยมสีดำที่นายสารถีชื่อ สุนันทะ กำลังขุดหลุมเพื่อฝังพระเตมีย์ ด้านบนขวาน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดหน้าปราสาทเมืองพาราณสี ที่พระเจ้ากาสิกราชพร้อมพระมเหษีประทับอยู่ภายในปราสาท ด้านหน้าน่าจะเป็นตอนที่เหล่าก็ให้บรรดาพราหมณ์ อมาตย์และที่ปรึกษาทั้งหลายมา เพื่อปรึกษาว่าจะดำเนินการอย่างไรกับพระเตมีย์ ส่วนจิตรกรรมฝั่งซ้ายของผนังช่องนี้ลบลือนจนมิสามารถเห็นเหตุการณ์ใดๆได้

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
05/03/2567
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน  จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20240304_MR_วัดพระธาตุช้างค้ำ_71
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน  จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
2,288 x 575 cm
DIGITAL SIZE:
20267 x 28679  Pixels