วัดป่าแดด อำเภอเเม่เเจ่ม ทิศใต้ (ฝาผนังช่องที่ 3) 3.3.4

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพของนักดนตรีขณะเล่นปี่จุม ปี่จุมเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของภาคเหนือคำว่า “จุม” เป็นภาษาล้านนาหมายถึงการชุมนุม หรือการประชุมกัน ดังนั้น ปี่จุม จึงหมายถึง การนำปี่หลาย ๆ เล่มนำมาเป่ารวมกัน ทำด้วยไม้รวก ลำเดียว นำมาตัดให้มีขนาดสั้น ยาว เรียงจากขนาดเล็ก (ปลายไม้) ไปหาใหญ่ (โคนของลำไม้) มีต่าง ๆ กัน ตามระดับเสียง เรียงจากขนาดเล็ก ซึ่งมีระดับสูง ไปหาขนาดใหญ่ที่มีเสียงต่ำ มีผู้ชมทั้งชายหญิง การแต่งกายของนักดนตรีและผู้ชายที่เป็นผู้ชมคือไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้น นุ่งผ้ามีลวดลายหรือผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า ที่มีสวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทใหญ่ในแถบนี้ ส่วนผู้ชมหญิงมีการแต่งกายคือ เปลือยอกหรือบางคนนำผ้าผืนเดียวมาคลุมไหล่ มีการทำผมมุ่นมวยต่ำไว้ด้านหลังและหญิงสาวบางคนมีการนำดอกไม้มาติดที่มวยผมอีกด้วย นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า” เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นแนวขวางลำตัว ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์ของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
08/06/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
002_26_20190608_MR26-06_33
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ.2431
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
67.44 x 23.24 cm.
DIGITAL SIZE:
3080 x 2300 Pixels.