วัดป่าเหมือด ทิศใต้ 3.3

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมฝั่งขวาของช่องนี้ มีเรื่องราวตอนปลายของกัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ในตอนที่พระเวสสันดรดรพร้อมกับพระมัทรี พระชาลี พระกัณหา เสด็จออกจากเมืองสีพี เสด็จไปโดยลําพัง ต่อมามีพราหมณ์ 4 คน วิ่งตามมาทูลขอม้า  พระองค์ก็พระราชทานให้ เทวดาจึงบันดาลเป็นละมั่งทองมารองรับรถพระที่นั่งนั้นไว้ ต่อมามีพราหมณ์อีกคนหนึ่งมาทูลขอรถพระที่นั่งก็พระราชให้ทานให้ ส่วนละมั่งทองนั้นก็อันตรธานหายไป  พระเวสสันดรทรงอุ้มพระชาลีพระนางมัทรีทรงอุ้มพระกัณหา แล้วเสด็จพระราชดําเนินไปตามมรรคา โดยทรงตั้งพระทัยจะเสด็จไปที่เขาวงกต ด้านขวาสุดจึงจะเป็นกัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนปเวศน์ มีความว่า พระเวสสันดรและพระนางมัทรีพร้อมด้วยพระราชโอรสธิดาเสด็จจากพระนครสีพีมาถึงภูเขาตาลบรรพต แม่น้ำโกติมารา เขาอัญชันและมาตุลนคร แห่งแคว้นเจตราษฎร์ รวมระยะทางถึง 30 โยชน์ แต่เทพยดาช่วยย่นหนทางให้ มาถึงมาตุลนครได้ในเวลาวันเดียว เสด็จเข้าประทับแรมอยู่ ณ ศาลาใกล้ประตูเมือง เช้าวันรุ่งขึ้นความทราบถึง กษัตริย์เจตราษฎร์ ต่างก็รีบไปเฝ้าไต่ถามถึงเหตุการณ์ พระเวสสันดรตรัสเล่าความจริงให้ ทราบทุกประการและทรงขอให้ช่วยชี้ทางที่จะไปเขาวงกต บรรดากษัตริย์เจตราษฎร์จึงทูลเสนอว่าจะไปเข้า เฝ้าพระเจ้ากรุงสญชัย เพื่อทูลขอพระราชทานอภัยโทษ กลับคืนเข้าพระนคร พระเวสสันดรตรัสว่ าพระบิดาไม่มีอิสระในเรื่องนี้ ไม่สามารถที่จะขัดขืนคำขอร้องของประชาชนได้ เพราะชาวสีพีมีความโกรธแค้นมาก กษัตริย์เจตราษฏร์ จึงทูลขอให้ ทรงครอบครองราชสมบัติมาตุลนครแทน พระเวสสนดรทรงปฏิเสธอ้าง ว่าผิดพระราชประสงค์ ทั้งยังเป็นการก่อให้เห็นว่าพระองค์จะตั้งตนเป็นใหญ่และกบฏต่อพระเจ้ากรุงสญชัย อาจเป็นเหตุให้ นครสีพีและนครเจตราษฎ์ ขาดสัมพั นธไมตรี ที่ดีต่อกันได้ ในที่สุดจึงทรงขอร้องให้ ชี้ทางที่จะไปเขาวงกต กษัตริย์เจตราษฎร์จึงทูลเชิญให้เสด็จประทับในพระนครก่อน พระเวสสันดรก็ทรงปฏิเสธอีกเพียง เสด็จประทับแรมในศาลานั้นอีกคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นสี่กษัตริย์ก็ตามส่งเสด็จจนสุดแดนเจตราษฎร์ทูลชี้ทางที่ จะเสด็จต่อไปและทรงตั้งให้พรานผู้หนึ่งชื่อ เจตบุตร เป็นผู้ถวายอารักขาระแวดระวังมิให้มีใครมารบกวน และทำอันตรายได้

พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี และพระราชโอรสธิดา เสด็จไปถึงเขาคันธมาทน์ก็ประทับแรม วันรุ่งขึ้นก็เสด็จไปถึงวิบุลบรรพต เลียบตามฝั่งแม่น้ำเกตุมะดี หยุดประทับใต้ร่มไม้ริมฝั่ง พราหมณ์ผู้หนึ่งได้นำเนื้อมาถวาย พระองค์จึงถอดสุวรรณจุฬามณีให้แก่พราหมณ์ แล้วเสด็จไปยังมหานิโครธข้ามเขาสุวรรณบรรพต เสวยผลไมแล้วเสด็จต่อไปยังนาฬิกบรรพต

ครั้งนั้นเวสสุกรรมเทพบุตรได้ร้บเทวบัญชาจากพระอินทร์ให้มานิรมิตบรรณศาลาไว้ 2 หลัง พร้อมด้วยเครื่องบรรพชิตบริขาร ทุกประการแล้วเขียนหนังสืออนุญาตให้ผู้ใคร่ประสงค์จะบรรพชาพึงถือเอาอาศรมสถาน และบริขารเหล่านี้เป็นของตน แล้วบันดาลให้สัตว์ร้ายและนกอันมีเสียงที่ไม่ไพเราะหนีไปอยู่เสียที่อื่น แล้วกำชับให้เจ้าป่าดูแล 4 กษัตรย์ เมื่อพระเวสสันดรเสด็จมาถึงก็เสด็จเข้าไปโดยลำพัง แล้วเปลื้องอาภรณ์ออกทรงเครื่องบรรพชา เสด็จออกมารับพระนางมัทรี พระนางมัทรีก็เสด็จเข้าไปในศาลาอีกหลังหนึ่งทรงเปลื้องอาภรณ์และ แต่งเป็นตาปสินี 

ในภาพช่องนี้จะเน้นเรื่องราวในกัณฑ์ที่ 3 ทานกัณ์มากกว่ากัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนปเวศน์ ที่เขียนจิตรกรรมไว้เพียงส่วนเดียว โดยทางฝั่งซ้ายเป็นตอนที่พราหมณ์ทั้ง 4 มาทูลขอมาลากรถพระที่นั่ง ส่วนกลางภาพเป็นเหคุการณ์ที่พระเวสสันดรได้บริจาคทาน ทั้งรถและม้าไปหมด สี่กษัตริย์จึงเสด็จโดยพระบาทเพื่อไปเขาวงกต ส่วนขวาสุดเป็นเหตุการณ์ในกัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนปเวศน์ ที่พรานผู้หนึ่งชื่อ เจตบุตร พร้อมพวกที่กษัตริย์เจตราษฎร์ทรงแต่งตั้งมา เป็นผู้ถวายอารักขาระแวดระวังมิให้มีใครมารบกวน และทำอันตรายได้ กำลังชี้ทางเข้าสู่เขาวงกต

เครื่องทรงของพระเวสสันดร สวมพระมหามงกุฎ และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งโจงกระเบนทับสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง ส่วนเครื่องทรงของพระนางมัทรีนั้น สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกสวมกรองศอมีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งผ้าซิ่นที่ในเมืองน่านเรียกว่า “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าผมมวยสูงไว้กลางศีรษะ พระกัณหาและพระชาลีทรงเครื่องสวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกสวมกรองศอมีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งโจงกระเบนผ้าพื้นเรียบ

ส่วนเจตบุตรพร้อมพวกมีการแต่งกายคล้ายชายไทยในภาคกลางคือ เปลือยอกมีผ้าแถบมาตล้องคอ ส่วนชายตนกลางมีถึงย่ามสะพายและนุ่งโจงกระเบน นอกจากนี้ยังเขียนภาพสัตว์ในป่าที่มีอยู่ในท้องถิ่นเช่น ต้นไม้ตรงกลางมีนกแซงแซวหางบ่วงเกาะอยู่ เป็นต้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมของทางรัตนโกสินทร์เข้ามาผสมผสาน
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220704_MR_วัดป่าเหมือด_09
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
197 x 45 cm
DIGITAL SIZE:
19836 x 3934  Pixels

Loading