ภาพจากหนังสือ AN ASIAN ARCADY

SKU: 02_24_20171026_PH01_51 Category:

Description

Digital Data

TITLE:
พะเยา
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพจากหนังสือ AN ASIAN ARCADY (The land and People of Northern Siam.) Reginald Le May หน้าที่ 126 เป็นภาพที่มีคำอธิบายว่า “ชายชราชาวล้านนา (ยังคงร่าเริง)”เป็นภาพชายชราชาวบ้านทั่วไป ที่ในอดีตสามารถพบได้ทั่วไปในล้านนา และที่น่าสังเกตจะสามารถเห็นรอยสัก หรือในภาษาล้านนา เรีบกว่า “การสับหมึก” ที่มีการสักเกือบทั่วทั้งร่างคือตั้งแต่ลำคอ ข้อมือจนจรดหัวเข่า อีกทั้งยังมีการเจาะรูหูขนาดใหญ่ทั้งสองข้างอีกด้วย และนุ่งผ้าผืนเดียวที่เรียกกันในทั่วไปในล้านนาว่าการนุ่งผ้าแบบ “เค็ดม้าม” ซึ่งการนุ่งห่มแบบนี้เหมาะสำหรับการทำงานเช่นการทำไร่ทำนา เป็นต้น
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
26/10/2560
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่าย
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ประเพณีการสักหมึกของชาย วัฒนธรรมประเพณี ที่สืบทอด กันมาในสังคมคนเมืองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีอยู่หลาย อย่างที่ยึดถือปฏิบัติกันมาตลอด แต่ก็ยังมีวัฒนธรรมอีกหลายอย่างที่ถูกมองข้าม ทั้งแง่เอกลักษณ์และระบบสัญลักษณ์ที่ผู้ทำได้พยายามสื่อความออกมา อย่างเช่น การสับหมึก หรือ การ “สัก” ลวดลายลงบนร่างกาย ซึ่งนอกจากจะมีความเชื่อเรื่องการอยู่ยงคงกระพันแล้ว การสักหมึกยังมีความสำคัญต่อการเลือกคู่ครองของผู้ชายอีกด้วย ในอดีตผู้ชายนิยมการสักขาลายมาก เมื่อมีอายุย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะทำการสักแทบทุกคน การสักชนิดนี้ใช้หมึกสีดำ จะไม่มีการเสกคาถากำกับแต่อย่างใด เพราะเป็นการสักเพื่อความสวยงามตามจารีตประเพณีนิยม เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเข้มแข็งของลูกผู้ชาย ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตคนส่วนใหญ่จะนิยมอาบน้ำในแม่น้ำหรือลำห้วย โดยแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ชายและกลุ่มผู้หญิง ในสมัยนั้นผู้ชายที่มีรอยสักหมึกตามร่างกายโดยเฉพาะที่ขาต้องสักขาลายด้วย จึงถือว่าเป็นผู้ชายเต็มตัว หากชายคนใดไม่ได้สักขาลายถ้าไปอาบน้ำก็จะถูกล้อเลียนว่าขาขาวเหมือนผู้หญิงควรจะไปอยู่กับกลุ่มผู้หญิง ทำให้ชายผู้นั้นได้รับความอับอายมากและผู้หญิงก็ไม่ชอบผู้ชายขาขาวถือว่าเป็นคนอ่อนแอ ไม่สมควรเอามาเป็นคู่ครอง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายในสมัยนั้นจึงนิยมสักขาลายแทบทุกคน การสักขาลายทุกครั้งนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาและความอดทนต่อการเจ็บปวดที่ได้รับจากการสัก บางคนบอกว่าเจ็บพอทนได้ บางคนบอกว่าเจ็บเหลือประมาณ โดนหลักสักแทงไม่กี่ครั้งก็บอกเลิกกลางคันก็มี การสักนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะใช้หลักสักซึ่งเป็นเหล็กแหลม ทำจากเหล็กทั้งแท่งตรงปลายแหลมมาก และข้างในเป็นรูกลวงมาตามยาวเพื่อใส่สี ซึ่งมีความยาวตั้งแต่ 30-50 เซนติเมตร ส่วนหัวหล่อทองเหลืองเป็นรูปต่างๆ เทวดาบ้าง สิงห์บ้าง แตกต่างกันออกไป เพื่อให้มีน้ำหนักในการกระแทกเหล็กสักจิ้มให้เป็นลวดลายต่างๆ ลงไปใต้ผิวหนังในเนื้อขาซึ่งมีความเจ็บปวดมาก ฉะนั้นผู้ที่ถูกสักจะต้องดื่มเหล้า สูบฝิ่น หรือสูบกัญชา เพื่อให้เมาและมึนเสียก่อน เพื่อระงับความเจ็บปวด
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
AN ASIAN ARCADY
IMAGE CODE:
02_24_20171026_PH01_51
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
MATERIAL:
CATEGORY:
ภาพภ่าย
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
หอภาพถ่ายล้านนา ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
View map
ORIGINAL SIZE:
796 × 1200
DIGITAL SIZE:
2529 × 3811