จิตรกรรมมุขทิศเหนือฝั่งตะวันตก 1.19

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณฝาผนังฝั่งตะวันตกของมุขด้านทิศเหนือ ภาพเขียนจิตรกรรมด้านนี้เสียหายค่อนข้างมาก คงเหลือรายละเอียดส่วนใหญ่บริเวณฝาผนังฝั่งขวา (ฝั่งด้านที่ต่อกับฝาผนังฝั่งสกัดของมุขฝั่งทิศเหนือ) ส่วนฝั่งซ้ายนั้นเสียหายไปเกือบทั้งหมด คงเหลือรายละเอียดของภาพไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ 

เรื่องราวในฝาผนังนี้ยังคงเป็นเหตุการณ์เกิดที่ขึ้นในเมืองศรีษะเกษ โดยเนื้อหาในชาดกในตอนนี้มีอยู่ว่า ครั้นเมื่อคัทธณะกุมารอายุได้ 16 ปี ก็มีข่าวเลื่องลือถึงบุญญาธิการและกำลังวังชามากคัทธณะกุมาร จนไปเข้าพระกรรณของพญาศรีษะเกษ เจ้าผู้ครองเมืองศรีษะเกษ พระองค์จึงใคร่ทอดพระเนตรบุญญาธิการของคัทธณะกุมาร จึงรับสั่งให้ทหารไปเชิญคัทธนกุมารมายังปราสาท เพื่อเเสดงพละกำลังดังที่ชาวเมืองเลื่องลือกันให้ทอดพระเนตร พญาศรีษะเกษจึงตรัสให้คัทธนกุมารใช้กำลังถอนต้นตาล 2 ต้น ด้วยบุญญาธิการและกำลังวังชาที่มากเหนือคนทั่วไป คัทธนกุมารจึงแสดงปาฏิหาริย์โดยการถอนต้นตาลพร้อมกันทีเดียว 2 ต้น แล้วเหาะขึ้นไปบนอากาศทำท่าฟ้อนรำให้พระราชาทอดพระเนตร ปาฏิหาริย์นั้นทำให้ชาวเมืองเกิดความชื่นชมคัทธนกุมารเป็นอันมาก เช่นเดียวกับพระราชาที่รักใคร่เอ็นดูคัทธนกุมารราวกับเป็นโอรสของตน จึงแต่งตั้งให้คัทธนกุมารเป็นอุปราชแสนเมือง แล้วมอบปราสาทหลังหนึ่งให้ ด้วยความเมตตาของพระราชาที่มี คัทธนกุมารจึงรับเอาเเล้วจึงรับเอามารดาของตนมาอยู่ด้วย

ภาพเขียนบริเวณฝั่งขวา เป็นเหตุการณ์ในตอนที่คัทธณะกุมารแสดงปาฏิหาริย์โดยการถอนต้นตาลพร้อมกันทีเดียว 2 ต้น แล้วเหาะขึ้นไปบนอากาศทำท่าฟ้อนรำให้พญาศรีษะเกษทอดพระเนตร ส่วนภาพเขียนบริเวณด้านล่างเขียนภาพเหล่าเสนาอมาตย์ที่นั่งชื่นชมอิทธิฤทธิ์ของคัทธณะกุมารอยู่ บริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ (บริเวณเหนือเจ้าเมืองศรีษะเกษ) อ่านได้ความว่า “พญาสีสักเกด” แปลว่า “พญาเมืองศรีษะเกษ” ถัดมาเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวณด้านใต้ของคัทธณะกุมาร ที่กำลังร่ายรำอยู่กลางอากาศ อ่านได้ความว่า “เจ้าคัทธณะ……หื้อพญาหันแล” แปลได้า่า “เจ้าคัทธณะกุมาร…..แสดงให้พญาเมืองศรีษะเกษเห็น” ถัดมาเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวณด้านล่างเหนือเหล่าเสนา อ่านได้ความว่า “พุทโธสูง” แปลว่า “คัทธณะกุมารเหาะขึ้นไปในอากาศสูงมาก” 

ส่วนภาพเขียนบริเวณฝั่งซ้ายของผนังด้านนี้ ภาพเขียนส่วนใหญ่เสียหายไปค่อนข้างมาก เห็นเพียงภาพลางๆพอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นภาพเขียนปราสาทที่เจ้าเมืองศรีษะเกษมอบให้กับคัทธณะกุมารพำนักอาศัยอยู่ ภายหลังจากเเต่งตั้งเป็นอุปราชแสนเมือง นอกจากนี้ยังมีภาพบางส่วนที่ยังพอสันนิษฐานรายละเอียดของภาพ เช่น ภาพเขียนปราสาท กำแพงเมือง เเละผู้คน รวมทั้งเรื่องราวในตอนที่คัทธณะกุมารพามารดาที่เป็นสาวอีกครั้งด้วยน้ำทิพย์จากคนโฑวิเศษ เพื่อเข้ามาอภิเษกกับเจ้าเมืองศรีษะเกษภายในราชวัง บริเวณมีมีชุดอักษรล้านนาเขียนกำกับไว้ เเต่ไม่สามารถอ่านและแปลความได้ เนื่องจากภาพเขียนลบเลือนไปเกือบทั้งหมด

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
57,451×19,360 Pixels