จิตรกรรมมุขทิศตะวันตกฝั่งเหนือ และฝาผนังด้านทิศเหนือของมุขทิศตะวันตก 1.2

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพจิตรกรรมที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ นรกเริ่มเล่าเรื่องที่บริเวณข้างประตูทางเข้า ของมุขทิศตะวันตก เป็นวิมานที่ประทับของ พญายมหรือมัจจุราชหรือพระยม วิมานมีชื่อว่า “กาลีจิ” สร้างจากทองแดงและเหล็ก ประทับบัลลังก์ ชื่อ วิจานภู ภายในวิมานจะมีพระจิตรคุปต์ป็นผู้ตรวจดูบัญชี และมีผู้ช่วยที่บัญชีอยู่เคียงคู่อีก 2 องค์ คือ พระสุวรรณเลขา จดบัญชีบุญลงในบัญชีแผ่นทองสุก และ พระสุวานเลขา จดบัญชีบาปลงในบัญชีหนังสุนัข ในภาพจิตรกรรมเริ่มเล่าเรื่องที่บริเวณเสาวิหารฝั่งนี้ เป็นภาพพญายมหรือมัจจุราชหรือพระยม ขณะกำลังขณะกำลังพิจารณาและตัดสินในบาปบุญแก่ผู้ตาย ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “สามคนนี้หื้อเอาไปเขี้ยนเสียคนร้อยห้า” แปลได้ความว่า “เอาทั้งสามคนนี้เอาไป เฆี่ยนคนละร้อยที” บนสมุดที่ขณะกำลังพิจารณาและตัดสินในบาปบุญแก่ผู้ตาย ถืออยู่นั้นอ่านได้ความว่า “กินเล่า..คน..” น่าจะแปลได้ประมาณว่า “ทำบาปโดยการดื่มสุรา” และบนสมุดที่ผู้ช่วยทั้งสามของพญายมภายในวิมาน ด้านหลังนั้น คนแรกขวาสุด บนปกสมุดอ่านได้ความว่า “บาป 5 ประ…” แปลได้ว่า “บาปทั้ง 5 ประการ”  คนกลางบนปกสมุดอ่านได้ความว่า “ข้าคนข้าสัตว์” แปลได้ความว่า “ฆ่าคนฆ่าสัตว์” ส่วนคนสุดท้ายซ้ายสุด บนปกสมุดอ่านได้ความว่า “สะพะ….” เนื่องจากข้อความได้ครบสมบูรณ์ จึงมิสามารถทราบความหมายได้  และชุดอักษรล้านนาที่ฝาผนังวิมานของพญายม ตรงกับคนที่นั่งกลางวิมาน อ่านได้ความว่า “บ้านนี้เมือง….” น่าจะเแลได้ประมาณว่า “นี้คือวิมานของเมืองพญายม” 

วิมานของพระยมเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ เป็นศาลาโถงหลังคาชั้นเดียว เครื่องทรงของพญายมเป็นเทพบุรุษมีกายสีแดงดังแสงแรกแห่งดวงอาทิตย์ สวมมงกุฎน้ำเต้า(ในภาพมีรูปทรงคล้ายหมวก) สวมอาภรณ์สีแดง นุ่งผ้าลายดูคล้ายโจงกระเบน ส่วนผู้ช่วยทั้งสามของพญายมภายในวิมาน สวมมงกุฎทรงน้ำเต้าและทรงกลีบซ้อน สวมอาภรณ์สีแดง ด้านหน้าคือกลุ่มชายที่รอรับคำพิพากษาจากพระยม มีการแต่งกายคล้ายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ที่ได้รับอิทธิพลการแต่งกายรูปแบบจากทางกรุงเทพคือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าที่เป็นผ้าพื้นเรียบและผ้าที่มีลวดลาย นุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ไว้ทรงผมสั้นและไม่สวมรองเท้า

ด้านบนเป็นภาพกลุ่มหญิงชายสองคู่ ที่ได้ทำแต่บุญจึงได้ขึ้นสวรรค์ ในภาพชายหญิงทั้งสองคู่กำลังเดินขึ้นสวรรค์ มีร่มกางกั้น การแต่งกายเห็นเฉพาะท่อนบน โดยหญิงมีการแต่งกายแบบหญิงชาวไทยวนในล้านนา คือนำผ้าแถบมาห่มห้อยชายไปด้านหลัง ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ ส่วนฝ่ายชายมีการแต่งกายคล้ายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ที่ได้รับอิทธิพลการแต่งกายรูปแบบจากทางกรุงเทพคือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าที่เป็นผ้าพื้นเรียบ ไว้ทรงผมที่เรียกทรงผมนี้ว่า “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางกรุงเทพ น่าจะอีกสิ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพเช่นกัน

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels