จิตรกรรมมุขทิศตะวันตกฝั่งเหนือ และฝาผนังด้านทิศเหนือของมุขทิศตะวันตก 1.10

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพจิตรกรรมฝั่งซ้ายด้านล่างของมุขทิศตะวันตกฝั่งเหนือ ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ด้วยกันหลายชุด ชุดแรกด้านบนขวาข้างหน้าต่าง อ่านได้ความว่า “เหล้นชู้จาผัว” แปลได้ว่า “หญิงที่ชอบเล่นชู้กับชายอื่น ที่มิใช่สามีตนเอง”  ชุดอักษรล้านนาด้านล่างขวาข้างหน้าต่าง อ่านได้ความว่า “เมาเหล้นชู้ผัว หาฅนเอา” แปลได้ว่า “หญิงที่มักมากในกาม ชอบไปเล่นชู้กับชายอื่นมากหน้าหลายตา” และชุดอักษรล่างซ้ายบริเวณข้างเสา อ่านได้ความว่า “….แทนบ่แทน” ตีความหมายได้ประมาณว่า “ไม่คืนของที่ยืมหรือที่ได้มาก่อน”  

ในภาพจิตรกรรมส่วนนี้ภาพด้านซ้ายบน เป็นนิรยบาลกำลังโบยผู้ที่กระทำบาป ที่โดนมัดมือมัดเท้าและคอดวยไม้ที่มีหนามแหลมคม เพราะบาปเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลกเป็นผู้มีกรรมไม่ดี ลักทรัพย์ของผู้อื่น คือ ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทองแพะ แกะ ปศุสัตว์ และกระบือ มาเลี้ยงชีวิต ชนเหล่านั้นผู้มีกรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้ว ต้องถูกมัดและโบยตี 

ส่วนภาพฝั่งขวาทั้งบนและล่าง นิรยบาลลงทัณฑ์หญิงที่ไปเล่นชู้กับชายอื่น ที่มิใช่สามีตน ด้านบนนิรยบาลลงทัณฑ์ด้วยการ ถูกแทงด้วยอาวุธต่างๆ จนตัวพรุนอย่างใบไม้เก่า ส่วนด้านล่างหญิงที่ชอบเล่นชู้กับชายอื่น กลายเป็นเปรตที่มีทรวงอกใหญ่โตเท่าต้นตาล เดินอยู่บนแผ่นเหล็กร้อนดั่งเพลิงเผา มุมล่างซ้ายเป็นร่างผู้ทำบาปนอน ให้นิรยบาลแล่เนื้อเอาใส่ตาช่าง เพราะทำบาปด้วยการไม่คืนของที่ยีมหรือที่ได้มาก่อน 

การแต่งกายของนิรยบาลมีการแต่งกายคล้ายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ที่ได้รับอิทธิพลการแต่งกายรูปแบบจากทางกรุงเทพคือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าที่เป็นผ้าพื้นเรียบ นุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ มัดหัวด้วยผ้าสีแดงห้อยชายผ้าไปด้านหลัง และสวมหมวกทรงกลมสีแดงแบบของชาวตะวันตก ที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพเช่นกัน ส่วนนิรยบาลคนล่างไม่มัดหัวเผยให้เห็นว่า ไว้ผมสั้นแต่ไม่ได้ตัดหรือโกนด้านข้าง

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels