จิตรกรรมพุทธประวัติมุขทิศตะวันตก1.1

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ มีลักษณะการเขียนจิตรกรรมในฝาผนังด้านสกัดของมุขสกัดทุกๆด้านแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ด้านบนในมุขด้านทิศตะวันตกมีภาพจิตรกรรมขนาดใหญ่เกือบเท่าหรือเท่าคนจริง จิตรกรรมบริเวณตรงกลางด้านบนเป็นภาพจิตรกรรมพุทธประวัติ เป็นภาพพระพุทธปางนิพพาน เนื่องจากมีความเชื่อว่าทิศตะวันตก นี้เป็นสวรรค์สุขาวดีโดยมีนิยามว่า ” แดนอันมีความสุขตามความเชื่อของลัทธิมหายาน ” เป็นชื่อสวรรค์ชั้นพิเศษ ไม่มีใน“ฉกามาพจรสวรรค์” สวรรค์หกชั้นของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท แต่เป็นสวรรค์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เรียกว่า “พุทธเกษตร” อยู่ทางทิศตะวันตก ผู้เข้าสู่พุทธเกษตรนี้แล้ว สามารถบรรลุนิพพานบนนี้ได้เลย พระพุทธเจ้าผู้ครองพุทธเกษตรสุขาวดีนี้ มีพระนามว่า อมิตาภะ แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้มีแสงสว่าง หาประมาณมิได้

ในภาพจะเป็นพระพุทธเจ้าเตรียมเสด็จสู่นิพพาน เบื้องปลายพระบาทมีเหล่าปัญจวัคคีย์นั่งร่ำไห้อยู่ ด้านหลังเป็นฉากป่าเขา ตามความเชื่อที่ว่า สุขาวดีเป็นดินแดนที่สวยงามและสุขสบาย กล่าวคือ มีล้อมรอบด้วยภูเขาแก้ว กำแพงแก้ว มีสระโบกขรณีที่ประดับด้วยแก้วมณี มีดนตรีทิพย์บรรเลงอยู่เสมอ มีนกร้องออกมาเป็นเสียงธรรมเทศนา บรรยากาศต่าง ๆ นี้ทำให้ผู้อาศัยเกิดพุทธาสุสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ และตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุนิพพานในดินแดนแห่งนี้ 

ภาพด้านบนสุดของเสาวิหารทั้งสองเสา เป็นภาพนกฮูกหรือนกเค้าแมวที่น่าจะเป็นคู่กัน คือด้านหนึ่งอาจจะเป็นตัวผู้อีกด้านอาจจะเป็นตัวเมีย นี้น่าจะมาจากความเชื่อของวัฒนธรรมพม่า ที่ว่านกฮูกหรือนกเค้าแมวในภาษาพม่าเรียกว่า “ชีว์ เควท์” ที่อยู่คู่กันนั้นเป็น สัญลักษณ์แห่งความโชคดี เหตุที่ว่าน่าจะมาจากความเชื่อของวัฒนธรรมพม่านั้น เพราะภาพจิตรกรรมวัดภูมินทร์นี้ มีหลายส่วนที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีวัฒนธรรมพม่า เข้ามาผสมผสานอยู่หลายส่วน ส่วนภาพขนาดใหญ่บนเสาวิหารฝั่งขวา เป็นภาพของหมอชีวกโกมารภัจจ์ (บาลี) หรือ ชีวกกุมารภฤต (สันสกฤต) มักย่อว่า ชีวกะ เป็นแพทย์ประจำพระองค์พระโคตมพุทธเจ้าและพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ ในภาพจิตรกรรมวาดภาพหมอชีวกะ เป็นหมอชาวจีน 

จิตรกรรมบนสุดฝั่งขวาหรือด้านเหนือ ของผนังด้านสกัดของมุขด้านทิศตะวันตก เป็นภาพราชสีห์ในวงกลม เป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงการปกป้องภยันตรายต่างๆ จึงนิยมนำเอาสิงห์หรือราชสีห์มาใช้ประดับอาคารและศาสนสถาน เพื่อเป็นการรักษาสถานที่นั้นไม่ให้อันธพาลเข้าไปประพฤติร้าย ดังที่เรามักพบสิงห์ปรากฎอยู่ในงานศิลปกรรมมากมายของศาสนสถาน ไม่ว่าจะเป็นภาพสลักหินรูปสิงห์ รูปปั้นสิงห์ หรือแม้กระทั่งรูปวาดสิงห์ เป็นต้น ส่วนฝั่งซ้ายหรือด้านใต้ของผนังมุขด้านทิศตะวันตก ภาพจิตรกรรมบนเสาวิหารถัดลงมาจากภาพนกฮูกหรือนกเค้าแมว เป็นภาพนกกรวิก หรือ นกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ แปลว่า “นกกินลม” ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟัง ถัดไปด้านซ้ายจิตรกรรมบนสุดฝั่งซ้ายหรือด้านใต้ ของผนังมุขด้านทิศตะวันตก เป็นภาพนกหัสดีลิงค์ เป็นชื่อนกใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยาย อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะตัวส่วนใหญ่เป็นนก แต่มีงอยปากมีลักษณะเป็นงวงอย่างงวงช้าง นกหัสดีลิงค์มักถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมฌาปนกิจแสดงว่า ผู้ตายมีบุญบารมีมาก จึงอยู่บนหลังนกได้ โดยนกหัสดีลิงค์สามารถนำดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ได้

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels