จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองแดง 14

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพจิตรกรรมเป็นเหตุการณ์ที่พระมาลัยขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดุสิต นั่งสนทนาธรรมกับพระอินทร์และพระศรีอริยะเมตไตรยเทพบุตร ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต โดยที่พระโพธิสัตว์องค์นั้นได้มีเทวโองการสั่งพระมาลัยมหาเถระให้มาบอกแก่มนุษย์ทั้งหลายในโลกว่า ถ้านรชนชายหญิงทั้งปวงปรารถนาจะพบกับพระศรีอริยเมตไตรยผู้จะบรรลุพระสัพพัญญตญาณในอนาคตกาลแล้วไซร้ ผู้นั้นจะต้องทำบุญมหาชาติ โดยนำเครื่องสักการบูชาได้แก่ ประทีบ ธูป เทียน ธง ฉัตร สารพันดอกไม้ ดอกบัว ดอกอุบล จงกลนี ราชพฤกษ์ ให้ครบจำนวนสิ่งละพัน มาบูชาพระธรรมเทศนามหาชาติ คือการฟังเทศน์เวสสันดรชาดกอันประดับด้วยพระคาถาหนึ่งพันพระคาถา แล้วนั่งสดับฟังให้จบในเวลาวันเดียว ผลานิสงส์จะทำให้ได้พบศาสนาของพระศรีอริยะเมตไตรย
ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ ด้วยกัน 3 ชุด ชุดแรกซ้ายสุดอ่านได้ความว่า “มหาเถร” น่าจะหมายถึงพระมาลัย อักษรล้านนาชุดกลาง อ่านได้ความว่า “พระยาอิน” แปลได้ว่า “พระอินทร์” และชุดอักษรล้านนาขวาสุด อ่านได้ความว่า “พระเมดไต” แปลได้ว่า “พระศรีอริยะเมตไตรย” ทั้งสามองค์ประทับอยู่ในอาคารที่มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบพม่า 
เครื่องทรงของพระศรีอริยะเมตไตรยและพระอินทร์ เป็นรูปแบบเครื่องทรงของกษัตริย์ คือทรงสวมชฏา ที่มีรูปแบบของเครื่องศิราภรณ์ทรงมงกุฎในรูปแบบของพม่า เรียกว่า “ตะระผู่” สวมเสื้อแขนยาวมีกรองศอขาดใหญ่  พระศรีอริยะเมตไตรยด้านล่างทรงนุ่งผ้าลุนตยา อเชะผืนยาว ที่เรียกว่าผ้า “ตาวง์เฉ่ญ์ ปะโซ” ส่วนพระอินทร์ทรงผ้าลายตารางผืนยาวและเรียกว่า ผ้า “ตาวง์เฉ่ญ์ ปะโซ” เช่นกัน ชื่อเรียก “ตาวง์เฉ่ญ์ ปะโซ” ในภาษาพม่าแปลได้ว่าผ้านุ่งผู้ชายยาวหลายศอก คำว่า”ปะโซ”หมายถึงผ้านุ่งของผู้ชาย ส่วน “ตาวง์เฉ่ญ์” หมายถึงความยาวหลายๆศอก ในสมัยโบราณผ้านุ่งลักษณะนี้สำหรับผู้ใหญ่จะใช้ผ้าหน้าแคบผืนยาว (กว้างประมาณ 22 นิ้ว ยาวประมาณ 20 ศอก) แล้วพับหรือตัดครึ่งก่อนที่จะเอามาต่อกันตามแนวยาวเพื่อให้ได้ผ้าที่มีหน้ากว้างขึ้น (ขนาด 44 นิ้ว x 10 ศอก) หลังจากนั้นที่ชายผ้าแต่ละข้างจะพับหน้ากว้างของผ้าเข้าหากันอีกครั้งแล้วเย็บติดกัน ทำเช่นเดียวกันทั้งสองข้าง ชายผ้าที่เย็บติดกันแล้วจะมีลักษณะคล้ายถุง การนุ่งผ้าตาวง์เฉ่ญ์ปะโซ จะพันด้านหนึ่งกับเอวผู้นุ่งแล้วมัดชายพกให้แน่น จากนั้นจึงจับจีบชายผ้ายาวที่เหลือให้สวยงามแล้วเหน็บที่ชายพกปล่อยให้ส่วนของจีบยาวห้อยถ่วงเป็นเชิงอยู่ด้านหน้า
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
05/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นของล้านนาสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากรัตนโกสินทร์ และพม่า นำมาผสมผสานกัน โดยจิตรกรรมนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นสกุลช่างชาวไทใหญ่ ที่สามารถพบได้ด้วยกันหลายวัดในล้านนา
COVERAGE:
วัดหนองแดง อ.เชียงกลาง  จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220705_MR_วัดหนองแดง_14
SUBJECT AGE:
ปีพุทธศักราช  2330
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
71 x 68 cm
DIGITAL SIZE:
20267 x 28679  Pixels

Loading