จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศใต้ ของมุขทิศตะวันตก 1.6

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพจิตรกรรมมุมขวาบนของฝาผนังด้านทิศใต้ของมุขทิศตะวันตกเป็นเหตุการณ์มีความเดิมว่า เวลาผ่านไปคัทธจันลูกชายคนรองเกิดจากสีดา เมื่อเติบใหญ่จึงนึกเป็นห่วงพระบิดาจึงชวนคัทธเนตร พี่ชายอันเกิดจากนางสีไวออกตามหาพ่อ แต่พี่ชายทัดทานให้รอก่อน ฝ่ายคัทธจันรอไม่ไหวจึงตัดสินใจออกตามหาพ่อโดยลำพัง ก่อนออกเดินทางคัทธจันให้คัทธเนตรสัญญาว่า หากตนพบหรือได้ของวิเศษอันใดกลับมา ห้ามอิจฉาหรือขอแบ่ง เมื่อคัทธจันเดินทางมาถึงเมืองตักศิลาก็ทราบว่าเจ้าเมืองตักศิลาลวงพระบิดา จึงประหารเจ้าเมืองตักศิลาโดยการตัดเป็นท่อน ๆ ลอยแม่น้ำโขง คัทธจันกุมารใช้ปลายไม้เท้าชี้ไปยังแท่งทองคำชุบชีวิตเจ้าคัทธณะกุมารให้ฟื้นคืนชีพ และได้มอบของวิเศษให้แก่ลูกของตน แล้วเหาะกลับเมืองจำปานครไปด้วยงาช้าง ส่วนคัทธจันอยู่ครองเมืองตักศิลา

ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “เจ้าตัทธจันพระญาตักสิลาตาย ตกแม่น้ำของไปหนี้แล” แปลได้ว่า “เจ้าคัทธจันสังหารเจ้าเมืองตักศิลาตาย ตกลงไปในแม่น้ำโขง” ในภาพจะเห็นการแต่งกายเฉพาะเจ้าคัทธจันและเจ้าเมืองตักศิลา เจ้าคัทธจันทรงเครื่องแบบกษัตริย์ของไทยหรือ การแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางกรุงเทพคือ สวมกระบังหน้า มีกรรเจียกคือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก สวมกรองศอและอินทรธนูทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่งหรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา

ส่วนเจ้าเมืองตักศิลาที่โดนเจ้าคัทธจันสังหาร ตัดร่างเป็นท่อนๆลอยแม่น้ำโขง แต่ยังสามารถเห็นการแต่งกายได้คือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าที่เป็นผ้าพื้นเรียบและผ้าที่มีลวดลาย นุ่งผ้าที่มีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ“นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน มัดเอวด้วยผ้าพื้นสีแดง เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนและไทลื้อในแถบนี้ ไว้ทรงผมที่เรียกทรงผมนี้ว่า “ทรงมหาดไทย” ลักษณะคือ ไว้ผมกลางศีรษะและด้านข้างโกนผมบริเวณโดยรอบ คล้ายกับการนำกะลามาครอบหัว แต่ไม่ได้แสกกลางแบบทางภาคกลางของไทย ที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางกรุงเทพ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
11.43×6.82 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels