จิตรกรรมทิศใต้ฝั่งตะวันตก 1.1

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมมุขทิศใต้ เขียนเริ่มเรื่องบริเวณฝั่งตะวันตกของฝาผนังนี้ โดยเขียนเล่าเรื่องราวภายหลังจากเจ้าคัทธณะกุมารเดินทางออกจากเมืองชวาทวดี มายังเมืองจำปานคร ครั้นมาถึงเมืองจำปานครจึงได้เข้าไปขออาศัยอยู่กับหญิงชราผู้หนึ่งนามว่า นางจ่าสวน ครั้นได้ช่วยเหลือหญิงชราในด้านต่างๆจนเป็นที่รักใคร่เป็นอันมาก วันหนึ่งได้มาพบกับหญิงสาวผู้หนึ่ง มีศักดิ์เป็นบุตรสาวของเศรษฐีแห่งเมืองจำปานคร หญิงผู้นี้มีรูปโฉมงดงาม ดวงหน้ารูปไข่ คิ้วโก่งโค้ง จมูกและดวงตารับกับใบหน้าที่ยิ้มแย้ม จึงได้ไต่ถามจนทราบชื่อของนางนามว่า “นางสีไว” ต่อมาได้ถวายตัวเป็นข้าบาทบริจาริกาของเจ้าคัทธนกุมาร เเละมีบุตรชายร่วมกันนามว่า “คัทธเนตร”

ภาพเขียนจิตรกรรมบนผนังด้านนี้ เขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเมืองจำปานคร ดังเนื้อหาในชาดกความว่า พญากามมธา เจ้าเมืองจำปานคร เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์ ณ ป่าแห่งหนึ่งในเขตเมืองจำปานคร ครั้นนั้นมีนางยักษ์ตนหนึ่งออกบุบายหมายจักหลอกล่อพญาเมืองจำปานครเพื่อจับกินเป็นอาหาร จึงแปลงกายเป็นกวางทอง เข้ามาหลอกล่อพญาจำปานครที่กำลังไล่ล่ากวางเข้าไปในป่า จนเกิดพลัดหลงเข้าไปในป่าใหญ่ ครั้นนั้นนางยักษ์จับตัวพญาเมืองจำปานครได้ เจ้าเมืองจึงร้องขอชีวิตจากนางยักษ์ตนนั้น เเละให้สัตย์ว่าจะส่งนักโทษประหารให้นางยักษ์กินทุกวัน เเละยกปราสาท 1 หลังแก่นางยักษ์ เมื่อนางยักษ์ได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดความพอใจเป็นอันมาก จึงปล่อยตัวพญาเมืองจำปานครกลับไป ครั้นมาถึงเมืองจึงได้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตนให้เหล่าเสนาอำมาตย์ฟัง และรับสั่งให้ข้าบริพารทั้งหลายนำนักโทษไปให้นางยักษ์ที่ปราสาทกินทุกวันตามสัญญา รวมเเล้วได้ 511 คน จนกระทั่งนักโทษหมดเมือง ครั้นนั้นเพื่อมิให้เกิดความเดือดร้อนเเก่ชาวประชาราษฎร พระองค์จึงประสงค์ที่จะสละชีวิตของตน แต่นางสีดาผู้เป็นพระธิดาร้องขอให้ส่งตนไปเเทนพระบิดา นำมาซึ่งความโศกเศร้าแก่เหล่าบริพารเเละชาวเมืองเป็นอันมาก 

พญาเมืองจำปานครจึงรับสั่งให้จัดขบวนแห่นางสีดาไปยังปราสาทของนางยักษ์ ข่าวเลื่องลือไปทั่วเมืองจำปานคร จนไปถึงพระกรรณของเจ้าคัทธณะกุมาร จึงได้ไต่ถามความจากนางจ่าสวนถึงสาเหตุที่นางสีดาต้องสละชีวิตของตนเพื่อรักษาสัตย์สัญญาของพระบิดาที่ให้ต่อนางยักษ์ ครั้นทราบความก็เกิดความสงสาร จึงคิดช่วยเหลือ เมื่อพระอาทิตย์ลับอัสดงเข้าสู่ยามวิกาล เจ้าคัทธนกุมารจึงลอบเข้าไปในปราสาทของนางยักษ์ เเล้วทุบหม้อ อ่าง ไห ภาชนะต่าง ๆของนางยักษ์์เสียสิ้น เเล้วเข้าไปพบกับนางสีดาที่อยู่ภายในปราสาท ครั้นเมื่อนางยักษ์กลับมาก็มาพบเครื่องใช้ของตนถูกทุบแตกเสียสิ้น อีกทั้งยังพบบุรุษเเละหญิงสาวอยู่ด้วยกันในปราสาทตน ก็เกิดโทสะหมายเข้าจับกินทั้งสอง เมื่อเห็นดังนั้นเจ้าคัทธนกุมารจึงเข้าต่อสู้เเละปราบนางยักษ์ เเล้วจึงเทศนาสั่งสอนจนนางยักษ์เกิดความละอายใจสำนึกในบาปที่ตนได้ทำมา จึงโขกศรีษะลงพื้นเเละสิ้นใจตายในเวลาต่อมา เจ้าคัทธณะกุมารเเละนางสีดาพำนักในปราสาทจนรุ่งเช้า เเล้วจึงลากลับไปยังที่พักของตน ครั้นนั้นนางสีดาได้ทูลขอของต่างหน้า เจ้าคัทธณะกุมารจึงได้ฉีกผ้าค่าแสนคำเพื่อเเทนคำสัญญาว่าจะกลับมาอภิเษกกับพระนางในภายหลัง ฝ่ายนางสีดาก็ได้มอบธำรงเเทนใจแก่เจ้าคัทธณะกุมาร

ภาพเขียนมุขทิศใต้นี้ เริ่มเล่าเรื่องบริเวณฝั่งตะวันตกของฝาผนังทิศนี้ บริเวณจิตรกรรมช่วงกลางของเสาในมุขนี้ เป็นตอนที่เจ้าคัทธณะกุมารเดินมาถึงเมืองจำปานคร เเละได้ไปอาศัยอยู่กับนางจ่าสวน จากนั้นจึงเขียนเล่าเรื่องข้ามไปบริเวณช่วงบนข้างหน้าต่าง เป็นเรื่องราวในตอนที่เจ้าคัทธณะกุมารมาช่วยธิดาของเศรษฐีเมืองจำปานครที่ปราสาทของนางยักษ์ เเละได้พบกับนางสีดา 

จากนั้นจึงเขียนภาพข้ามไปเล่าเรื่องบริเวณตอนบนกลางผนัง เป็นเหตุการณ์ในตอนที่นางยักษ์ตนหนึ่งออกอุบายหมายที่จะจับพญาเมืองจำปานครและเหล่าเสนากินเป็นอาหาร โดยแปลงกายเป็นกวางทองเพื่อล่อลวงเจ้าเมืองเข้าไปในป่า จนพลัดลงเข้าไปในป่าใหญ่ 

จากนั้นจึงเขียนภาพเล่าเรื่องถัดขึ้นไปบริเวณด้านบน เป็นเหตุการณ์ในตอนที่พญาเมืองจำปานครถูกนางยักษ์จับตัวไป เจ้าเมืองจึงร้องขอชีวิตจากนางยักษ์ตนนั้น เเละให้สัตย์ว่าจะส่งนักโทษประหารให้นางยักษ์กินทุกวัน เเละยกปราสาท 1 หลังแก่นางยักษ์ เมื่อนางยักษ์ได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดความพอใจเป็นอันมาก จึงปล่อยตัวพญาเมืองจำปานครกลับไป

จากนั้นเขียนเล่าเรื่องข้ามลงมาบริเสณส่วนล่างสุดของฝาผนังฝั่งซ้ายของหน้าต่าง เป็นเหตุการณ์ภายหลังจากพญาเมืองจำปานครออกจากป่าเเละกลับเข้าเมืองจำปานคร จึงได้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตนให้เหล่าเสนาอำมาตย์ฟัง และรับสั่งให้ข้าบริพารทั้งหลายนำนักโทษไปให้นางยักษ์ที่ปราสาทกินทุกวันตามสัญญา รวมเเล้วได้ 511 คน จนกระทั่งนักโทษหมดเมือง ด้วยตนเป็นกษัตริย์ผู้ดำรงธรรมจึงมิอยากให้ชาวประชาราษฏรได้รับความเดือดร้อนจากตน จึงคิดที่จะสละชีวิตของตนเป็นอาหารแก่นางยักษ์ แต่นางสีดาผู้เป็นพระธิดาร้องขอไว้ โดยขอให้ส่งตนไปเเทนพระบิดา นำมาซึ่งความโศกเศร้าแก่เหล่าบริพารเเละชาวเมืองเป็นอันมาก พญาเมืองจำปานครจึงรับสั่งให้จัดขบวนแห่นางสีดาไปยังปราสาทของนางยักษ์ ข่าวเลื่องลือไปทั่วเมืองจำปานคร จนไปถึงพระกรรณของเจ้าคัทธณะกุมาร จึงได้ไต่ถามความจากนางจ่าสวนถึงสาเหตุที่นางสีดาต้องสละชีวิตของตนเพื่ป็นอาหารของนางยักษ์ ครั้นทราบความก็เกิดความสงสาร จึงคิดช่วยเหลือ ครั้นพระอาทิตย์ลับอัสดงเข้าสู่ยามวิกาล เจ้าคัทธนกุมารจึงลอบเข้าไปในปราสาทของนางยักษ์ เเล้วทุบหม้อ อ่าง ไห ภาชนะต่าง ๆของนางยักษ์์เสียสิ้น เเล้วจึงเข้าไปพบกับนางสีดาที่อยู่ภายในปราสาท ครั้นนางยักษ์กลับมาจึงมาพบเครื่องใช้ของตนถูกทุบแตกเสียสิ้น อีกทั้งยังพบบุรุษรูปงามเเละหญิงสาวอยู่ด้วยกันในปราสาทของตน ก็เกิดโทสะหมายเข้าจับกินทั้งสอง เมื่อเห็นนางยักษ์เข้าจับดังนั้นเจ้าคัทธนกุมารจึงเข้าต่อสู้เเละปราบนางยักษ์ลงได้ เเล้วจึงเทศนาสั่งสอนจนนางยักษ์เกิดความละอายใจสำนึกในบาปที่ตนได้ทำมา จึงใช้ศรีษะของตนโขกลงพื้นเเละสิ้นใจตายในเวลาต่อมา เจ้าคัทธณะกุมารเเละนางสีดาพำนักในปราสาทจนรุ่งเช้า เเล้วจึงขอลากลับไปยังที่พักของตน ครั้นนั้นนางสีดาได้ทูลขอของต่างหน้ากับเจ้าคัทธณะกุมารเพื่อเเทนใจ พระโพธิสัตว์จึงฉีกผ้าค่าแสนคำให้แก่นางสีดา เพื่อเเทนคำสัญญาว่าจะกลับมาอภิเษกกับนางในภายหลัง ฝ่ายนางสีดาก็ได้มอบธำรงไว้ให้เเทนใจ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ สกุลช่างน่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของตนเองได้อย่างงดงาม มีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดภูมินทร์_143
SUBJECT AGE:
พุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
309×342 cm
DIGITAL SIZE:
62,342×20,703 Pixels

Loading