จิตรกรรมทิศใต้ฝั่งตะวันตก 1.8

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนเหตุการณ์ในตอนที่พญากามมธา เจ้าเมืองจำปานคร ถูกนางยักษ์จับตัวได้ เจ้าเมืองจึงร้องขอชีวิตจากนางยักษ์ตนนั้น เเล้วจึงให้สัตย์ว่าจะส่งนักโทษประหารให้นางยักษ์กินทุกวัน เเละยกปราสาท 1 หลังแก่นางยักษ์ เมื่อนางยักษ์ได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดความพอใจเป็นอันมาก จึงปล่อยตัวพญาเมืองจำปานครกลับไป ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ ประกอบด้วย อักษรชุดเเรกบริเวณด้านหน้านางยักษ์ อ่านได้ความว่า “กวางคำกลายเป็นยักว่าจักกินพญาเมิงจำปานครแล” แปลได้ว่า “กวางทองกลับร่างมาเป็นนางยักษ์ หมายจะจับพญาเมืองจำปานครกิน” ถัดมาเป็นชุดอักษรล้านนาบริเวนด้านหน้าพญาเมืองจำปานคร อ่านได้ความว่า “พญาขอชีวิตกับยักว่าขอหื้อกินคนเมิงวันละคนเทอะ” แปลได้ว่า “พญาเมืองจำปานครร้องขอชีวิตกับนางยักษ์ แลสัญญาว่าจะเอาคนในเมืองจำปานครมาให้กินวันละคน”

ในภาพพญากามมธา เจ้าเมืองจำปานคร สวมเครื่องเเต่งกายอย่างกษัตริย์ของไทย หรือ การแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ ทรงสวมพระมาลายอดเกี้ยว หรือ หมวกทรงกลมยอดแหลม สวมกรองศอและอินทรธนูทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลา คือ กางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่ง หรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา 

ส่วนนางยักษ์แต่งกายคล้ายกับการแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางภาคกลาง (กรุงเทพ) คือ สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือ เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกและสวมกรองศอ นุ่งซิ่นซิ่นป้อง คือผ้าซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา มีการตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่ในเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่ามัดหมี่ บนลายเส้นในแนวขวางลำตัว ซิ่นป้องถือเป็นผ้าซิ่นที่มีโครงสร้างชนิดพิเศษและมีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถพบได้เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ สกุลช่างน่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของตนเองได้อย่างงดงาม มีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดภูมินทร์_150
SUBJECT AGE:
พุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
152×82 cm
DIGITAL SIZE:
62,342×20,703 Pixels

Loading