วัดเวียงต้าทิศใต้

Description

Digital Data

TITLE:
แพร่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนช่างฟ้อนชายหญิงและเหล่านักดนตรี ณ ปราสาทของพระเจ้าหงส์พิมพ์ทอง ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนากำกับอยู่ บริเวณด้านขวาบนหลังนักดนตรี อ่านได้ความว่า “เซ้ย” คำนี้น่าจะจะหมายถึงการอุทาน หรือ การตะโกนร้องโห่ ในช่วงที่ช่างฟ้อนกำลังฟ้อนอยู่ 

ช่างฟ้อน หรือ “จ้างฟ้อน” ซึ่งคำว่า “จ้างฟ้อน” จะออกเสียงสั้น ตรงตามคำ หากผัน จ เป็นอักษรกลาง จะผันได้ครบ 5 เสียง เช่น จาง จ่าง จ้าง จ๊าง จ๋าง (ออกเสียงเช่นเดียวกับ ช่าง ไม่เหมือน จ้าง ที่หมายถึงการทำงานให้โดยได้รับผลตอบแทน ซึ่งคำนี้จะออกเสียงยาวกว่า) คำว่า จ้าง ของล้านนา ตรงกับกำว่า “สล่า” ซึ่งรากศัพย์น่าจะเป็นภาษาพม่าที่เข้ามาในล้านนาช่วงที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้น ดังนั้นคำว่าจ้างฟ้อน น่าจะหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการฟ้อน (เครดิต สมาคมสายเหนือ) 

ช่างฟ้อนฝ่ายหญิงในภาพ น่าจะกำลังฟ้อนเล็บ ซึ่งถือเป็นการฟ้อนที่ผู้คนทั่วไปในล้านนารู้จักกันเป็นอย่างดี ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูปแบบการฟ้อนมีอยู่ 2 แบบ คือแบบพื้นเมือง หรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง กระบวนท่ารำเป็นลีลาท่าฟ้อนที่มีความงดงาม นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน ช่างฟ้อนจะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ  (เล็บทำจากทองเหลืองทำเป็นกรวยยาวปลายเเหลม) 

ส่วนชายในภาพที่ฟ้อนอยู่ น่าจะฟ้อนล้อตามช่างฟ้อนหญิง เบื้องหลังมีเหล่านักดนตรีพื้นเมืองกำลังเป่าปี่จุม (เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของภาคเหนือ คำว่า “จุม” เป็นภาษาล้านนาหมายถึงการชุมนุม หรือการประชุมกัน ดังนั้น ปี่จุม จึงหมายถึง การนำปี่หลายๆเล่มนำมาเป่ารวมกัน ทำด้วยไม้รวก ลำเดียว นำมาตัดให้มีขนาดสั้น ยาว เรียงจากขนาดเล็ก (ปลายไม้) ไปหาใหญ่ (โคนของลำไม้) มีต่าง ๆ กัน ตามระดับเสียง เรียงจากขนาดเล็ก ซึ่งมีระดับสูง ไปหาขนาดใหญ่ที่มีเสียงต่ำ เป็นต้น

ช่างฟ้อนหญิงแต่งกายแบบของหญิงไทยวนที่พบได้ทั่วไปในล้านนา คือ เปลือยอกนำผ้าที่มีลวดลายมาคล้องคอห้อยชายทั้งสองไปด้านหลัง  นุ่งซิ่นต๋าต่อตีนแดง ทรงผมมีเกล้ามวยที่เรียกว่าทรง “ตั้งเกล้า” ไว้กลางศีรษะและไม่สวมรองเท้า ส่วนช่างฟ้อนแต่งกายแบบชาวไทยวนในล้านนา คือ เปลือยอก นุ่งผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย” หรือ“ เค็ดม่าม” โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมร หรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า ลวดลายสัตว์หิมพานต์ ส่วนเหล่านักดนตรีด้านหลัง สวมใส่เสื้อคอตั้งแขนยาวสวมโจงกระเบนด้วยผ้าที่มีลวดลาย ซึ่งน่าจะรับอิทธิพลมาจากกรุงเทพ สักสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า ลวดลายสัตว์หิมพานต์ ไว้ผมทรงมหาดไทย นักดนตรีบางคนนำผ้ามาคลุมหัว ส่วนชาวเมืองที่มาดูการฟ้อนรำ (บริเวณด้านบนของภาพ) บางคนสวมเสื้อ และบางคนเปลือยอก ไว้ผมสั้นและบางคนตัดผมทรงมหาดไทย

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
แพร่
IMAGE CODE:
02_27_20210215_MR27-01_01
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ. 2380 – 2410
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
หอภาพถ่ายล้านนา, มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์,แปลอักษรล้านนา โดยคุณภูเดช แสนสา
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์) View map
ORIGINAL SIZE:
9.24 x 2.04 เมตร
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels