วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 7(กัณฑ์ที่ 13)1.6

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนช้างทรงของพระเจ้าธรรมขันตี และเหล่าไพร่พล ในภาพพระเจ้าธรรมขันตีทรงประทับนั่งอยู่ในกูบช้าง ที่ทำมาจากไม้ไผ่สาน มีการลงรัก ชาดและปิดทอง ส่วนช้างทรงเครื่องคชาภรณ์แบบของกษัตริย์ ในบริเวณนี้มีภาษาล้านนากำกับอยู่ในชุดแรกเหนือเหล่าทหาร อ่านได้ความว่า “นมัสสกานใต้ฟาพระบาดเปน…จันทคาด…” แปลได้ประมาณว่า “กราบใต้ฝ่าพระบาทเป็น…เจ้าจันทคาธ..” และบริเวณด้านหน้าควาญช้างที่กำลังประนมมืออยู่นั้นอ่านได้ความว่า “ณับมัสสการ..บ้านจันทคาด…” แปลได้ว่า “กราบวันทา..บ้านเจ้าจันทคาธ…” พระเจ้าธรรมขันตี ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ คือ สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือ เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือ รัดเกล้า และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวง ส่วนควาญช้างและเหล่าทหารในภาพแต่งกายในรูปแบบที่น่าจะรับอิทธิพลจากกรุงเทพ คือ ใส่เสื้อแขนยาว ตัดผมทรงมหาดไทย ฝ่ายควาญช้างมีการมัดศรีษะด้วยผ้าแถบสีแดง โดยเฉพาะทหารสองคนหลังที่ไว้หนวดซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลของตะวันตกมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนภาพเขียนบริเวณด้านหน้าเขียนภาพของทหารหญิงชาย (เดินตามช้างของพระนางพรหมจารี) ทหารชายสวมเสื้อแขนยาว ตัดผมทรงมหาดไทย ในมือแบกปืนคาบศิลาและหอกยาว ส่วนทหารหญิงนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มแบบมัดอก เพื่อให้ดูทะมัดทะแมงในเวลาออกรบ เกล้าผมทรง “วิดว้อง” นำสร้อยเงินมามัดมวยผม ในมือแบกไม้พลอง

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ “สกุลช่างน่าน” มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของเฉพาะตนได้อย่างงดงาม มีรูปแบบคล้ายกับวัดภูมินทร์ อำเภอมืองน่าน โดยมีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรรม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง รวมถึงโดนน้ำท่วมมาด้วยกันหลายครั้ง
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดหนองบัว_194
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
126×86 cm
DIGITAL SIZE:
25565×3908 Pixels

Loading