Description
Digital Data
ภาพเขียนจิตรกรรมภาพนี้ยังเขียนเรื่องราวที่เศรษฐีทั้ง 5 ตระกูล ได้ทำการนิมนต์พระภิกษุ มาพิธีขับไล่ภูตผี
บริเวณด้านบนของภาพมีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่ อ่านได้ความว่า “เจ้าจันทคาธหื้อ..” เขียนอยู่บนต้นครัวทาน “ …ลันฯธา…” อาจจะหมายถึง “ตัฯนฯธา ต้นธาน” ที่แปลความได้ว่า “ต้นครัวตาน” และบริเวณด้านขวา อ่านได้ความว่า “เจ้าจันทคาธปัดผีกะ”
ส่วนรูปแบบการแต่งกายของเจ้าจันทคาธนั้น รับวัฒนธรรมการแต่งกายแบบชายชาวกรุงเทพ คือ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาว นุ่งโจงกระเบนมีผ้าคาดบริเวณเอว ไว้ผมทรงมหาดไทย มือข้างหนึ่งอุ้มพระขรรค์วิเศษ และถือถ้วยน้ำมนต์ อีกมือถือกิ่งไม้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นใบส้มป่อย ซึ่งมีเล่าขานในนิทานนิยายปรัมปรา คล้ายว่าในเรื่องผีๆ ที่มีคนสรรค์แต่งขึ้นมาหลายต่อหลายบทตอน เช่น หมอผีทำพิธีไล่ผี หมอพื้นบ้านใช้ทำเป็นน้ำมนต์อาบสะเดาะเคราะห์คนป่วยไข้ คนไทยหลายเผ่าใช้เป็นปัจจัยในการขจัดปัดเป่าเคราะห์กรรมอัปมงคล เป็นต้น
ส่วนหญิงที่นั่งอยู่ทั้ง 3 คนสวมเครื่องแต่งกายแบบหญิงในล้านนา คือนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบหรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” นุ่ง “ซิ่นป้อง” เป็นรูปแบบเฉพาะที่พบได้แต่ในเมืองน่านเท่านั้น ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “ตั้งเกล้า” และ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองเท้า
Physical Data