วัดหนองบัว ทิศใต้ช่องที่ 1-2-3(กัณฑ์ที่ 9)1.7

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนบริเวณเหนือหน้าต่างช่องที่ 2 ด้านบน เขียนเรื่องราวในกัณฑ์ที่ 9 ตโยเสฏฐีธิตาเปสนกัณฑ์ เป็นเรื่องราวในตอนที่เจ้าจันทคาธเเละนางทั้งสาม ได้พบกับผีเย็นขณะเดินทางไปเมืองสังกัสสะ โดยเรื่องราวในตอนนี้มีอยู่ว่า

ครั้นเดินทางต่อไปอีก 3 วันถึงบ้านคนป่า จึงเข้าไปถามว่ามาณพว่า “บ้านนี้ชื่ออะไร” เจ้าคนป่ามองดูเฉยแล้ววิ่งเข้าไปริมบ้าน ตะโกนเรียกพวกว่า “พวกเรามีเนื้อ 4 ตัวมาที่นี่ จงช่วยกันจับเร็ว” จากนั้นเหล่าคนป่าต่างก็ถือไม้ถือพลองวิ่งออกจากบ้านมาเป็นแถว ครั้นเจ้าจันทคาธเห็นดังนั้น จึงให้นางทั้ง 3 เกาะตนไว้ แล้วเหาะขึ้นบนยอดไม้ พวกผีเย็นและคนป่าต่างช่วยกันโค่นต้นไม้ลง เจ้าจันทคาธก็เหาะไปยังต้นอื่นต่อไป พวกเหล่านั้นก็ตามไปโค่นเสียอีก โดยทำนองนี้ต้นไม้ถูกโค่นตั้ง 7 แสนต้น เจ้าจันทคาธจึงพานางทั้งสามเหาะเรื่อยไปประมาณหนทาง 5 โยชน์ ก็ลงมาบริโภคอาหารอยู่หลับนอน รุ่งเช้าเดินทางต่อไปอีก ในบริเวณนี้มีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่ด้วยกันหลายชุด ตั้งแต่บริเวณด้านขวาบน อ่านได้ความว่า “..เจ้าจันทคาดมาจวบใส่เย็นหนี้แล…” (เย็น หรือ ผีเย็น คือคนป่า หรือ ผีปีศาจตามความเชื่อในล้านนา) 

ถัดมาเป็นอักษรล้านนาบริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ ฝั่งขวา อ่านได้ความว่า “เจ้าจันทคาธเอานางทั้ง 3 ขึ้นต้นแคฝอย ต้นหมายเมืองของอสูรพิภพ..ผีเย็นมาปำหนี้แล” แปลได้ว่า “เจ้าจันทคาธเอานางทั้ง 3 ขึ้นต้นแคฝอย ซึ่งเป็นต้นหมายเมืองของอสูรพิภพ..ผีเย็นมาช่วยกันโค่นต้นแคฝอย” เเละชุดอักษรล้านนาที่อยู่ด้านหน้าผีเย็นตนซ้าย อ่านได้ความว่า “คำขึด..สูงใบ้สูงง้าวพู้น” แปลได้ว่า “ลำบากและคิดยาก ต้นไม้สูงเกินไป” ส่วนอักษรล้านนาที่อยู่หน้าผีเย็นตนขวา อ่านได้ความว่า “เอาหื้อได้” แปลได้ว่า “เอาให้ได้”เเละชุดอักษรบริเวณด้านซ้ายของต้นไม้ใหญ่ อ่านได้ความว่า “ไพเถิมเล่า” แปลได้ว่า “จะข้ามโตรกผา” (เถิมคือโตรกผาที่ยาวแคบ)

เจ้าจันทคาธเเต่งกายแบบชาวบางกอกในยุคนั้น คือ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวนุ่งโจงกระเบน มีผ้าคาดที่เอว ตัดผมทรงมหาดไทย เเละไม่สวมรองพระบาท

ส่วนนางทั้ง 3 แต่งกายแบบหญิงในล้านนา คือ เปลือยอกนำและนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือ คล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย” จะเห็นได้ว่านางสนมกำนัลในภาพสวมใส่ผ้าซิ่นแบบต่างๆที่พบในเมืองน่านเท่านั้น เช่น นางสนมมคนแรก (คนขวาสุด) นุ่ง “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ซิ่นป้องนี้มีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น ในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่าง แต่การตกแต่งที่เด่นชัด คือ การตกแต่งด้วยกรรมวิธีการทอที่เรียกว่า “ยกมุก” หรือทั่วไปเรียกว่า “ยกขิด”  ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาว ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะ ที่หูใส่ “ลานหู” ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆคล้ายใบลาน ทำจากแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป และไม่สวมรองเท้า

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
000
SUBJECT AGE:
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
17.29 x 3.4 เมตร(ขนาดรวมทั้งฝาผนัง)
DIGITAL SIZE:
15,200 x 9,400 Pixels