วัดท่าข้าม ทิศใต้ 3.2

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
DESCRIPTION:

ภาพจิตรกรรมฝาผนังห้องที่ 2 ฝั่งทิศใต้เขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องจากขวาล่าง(ข้างหน้าต่าง) วนไปทางซ้ายล่าง กลับขึ้นไปด้านบนซ้ายแล้วจึงไปจบเรื่องที่ขวาบน จิตรกรรมในฝานี้เล่าเรื่องพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าทรงเสด็จออกผนวชจนถึงตร้สรู้ เป็นเรื่องราวของพุทธประวัติตั้งแต่ปริจเฉทที่ 6 มหาถินิกขมนปริวัตต์ 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 เจ้าชายสิทถัตธทรงประพาสอุทยานพบ คนแก่ เจ็บ ตายและนักบวชหรือคนสมถะ  ตอนที่ 2 เจ้าชายสิทถัตธะ เสด็จไปทอดพระเนตรพระนางพิมพาและพระราหุล และตอนที่ 3 เจ้าชายสิทถัตธะทรงม้ากัณฑะกะพร้อมนายฉันนะ เพื่อเสด็จทรงออกผนวช พุทธประวัติปริจเฉทที่ 7 ทุกกรกริยาปริวัตต์ คือเจ้าชายสิทถัตธะทรงบำเพ็ญทุกกริยาอยู่ 6 พรรษาโดยมีมีพราหมณ์ 5 คน เฝ้าปรนนิบัติ คือ โกนทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหามานะ และอัสสชิ  เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ พุทธประวัติปริจเฉทที่ 8 พุทธบูชาปริวัตต์ คือตอนที่นางสุชาดาถวายข้างมธุปายาสแก่พระสิทถัคธะ และพระสิทถัตธะทรงเสี่ยงทายด้วยการลอยน้ำ ในส่วนปริจเฉทที่ 9 มารวิชัยปริวัตต์ วาดไว้ที่ผนังในฝั่งตรงกันข้าม พุทธประวัติปริจเฉทที่ 10 พระสิทธัตถะประทับนั่งใต้ต้นมหาโพธิ์ในวันเพ็ญเดือน 6 ผ่านปฐมยาม มัชฉิมยามและปัจฉิมยามทรงพิจารณาญาณต่างๆ เป็นลำดับ จนตรัสรู้อริยสัจ 4 ในตอนรุ่งอรุณ และภาพสุดท้ายที่ปรากฎในงานจิตรกรรมฝาผนังนี้ คือ พุทธประวัติปริจเฉทที่ 11 พระสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วทรางเสวยวิมุกติสุข 7 แห่ง แห่งละ 1 สัปดาห์  ในงานจิตรกรรมนี้แสดงภาพในสัปดาห์ที่ 6 ประทับนั่งเสวยวิมุกติสุข ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ครั้งนั้นฝนตกลงมาอย่างหนัก พญานาคนามว่า มุจลินท์ ขึ้นมาจากบาดาล แผ่นพังพานอันใหญ่ ปกคลุมพระวรกายจากฝน โดยเริ่มตั้งแต่วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะชวนนายสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยที่เทวทูตได้แปลงกายมาพระองค์จึงทรงคิดได้ว่านี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่า ความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ได้ ต้องออกจากการครองเรือนบวชเป็นสมณะ พระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันนะสารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่า “กัณฑกะ” มุ่งตรงไปยังแม่น้ำ อโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนหาดทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ เพื่อแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เสด็จไปโดยเพียงลำพัง มุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ หลังจากทดลองมา 6 พรรษาก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า “เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ” ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน อีกสายขึงไว้อ่อนเกินไปเวลาดีดพิณทำให้เกิดเสียงที่ไม่ไพเราะ และพิณสายกลางที่ขึงไว้พอดีเมื่อดีดแล้วเกิดเสียงที่ไพเราะ จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ตำบลสารนาถ ต่อมาขณะที่มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า “ถ้าจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป 1 เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้ ภาพวาดในฝาที่ 2 นี้เป็นการวาดที่เป็นอิทธิพลของศิลปกรรมแบบพม่าเป็นหลักเช่นเดียวกับจิตรกรมในห้องอื่นๆ ทั้งรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมและการแต่งกาย โดยมีการสอดแทรกวิถีชีวิตของพื้นเมืองเข้ามาด้วยเช่นกัน เช่นการแต่งกายของชายหญิงที่มีการผสมผสานทั้งของไทยวน และไทใหญ่ นำมาเขียนลงในจิตรกรรมด้วย

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดท่าข้าม อำเภอเเม่เเตง จังหวัดเชียงใหม่
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
02_26_20190608_MR26-04_3.2
SUBJECT AGE:
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22 – 24
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์ / อ.ดร.สราวุฒิ รูปิน
COVERAGE:
วัดท่าข้าม อำเภอเเม่เเตง จังหวัดเชียงใหม่ View map
ORIGINAL SIZE:
214 x 267 cm.
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels