ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

Description

Digital Data

TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพเขียนพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระปางเปิดโลก เป็นปางหนึ่งในพระพุทธรูปปางต่างๆ ใน 66 ปาง ซึ่งได้รับการรังสรรค์โดยกำหนดตามพระอิริยาบถต่างๆของพระพุทธเจ้า นับเป็นปางที่มีความหมายและความสำคัญ และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากเทวโลกในวันปาฏิบท คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 และถือเอาวันดังกล่าวเป็นปฐมเหตุแห่ง วันเทโวโร หนะ หรือ วันตักบาตรเทโวโรหนะ เป็นต้น อนึ่งกล่าวถึงการเขียนภาพพระบฏผืนนี้ ช่างได้มีการเขียนภาพพระพุทธเข้าทรงประทับยืนอยู่ในปางเปิดโลก คือ ยืนตรง หันปลายพระบาท ทั้งสองออกจากกัน โดยมีดอกบัวขนาดใหญ่รองรับ พระกรทั้งสองทอดไปข้างลําตัว หันด้านหลังพระหัตถ์ไปทางด้านหน้า ส่วนพระพักตร์นั้นอยู่ในด้านตรง ชํารุดเสียหายไปมาก แต่ยังเห็นได้ว่าพระเนตรเหลือบต่ำ พระเกศาสีน้ำเงินแก่ขมวดกลมเป็นรูปก้นหอย ส่วนพระอุษณีษะ หรือพระเกตุมาลานั้นชํารุดหายไป ทรงห่มจีวรเฉียงขึ้นไปทางไหล่ซ้าย จีวรมีสีแดงสดตัดเส้นด้วยสีเหลืองรงค์ ผิวพระกายระบาย ด้วยสีเหลือง รอบพระเศียรมีรัศมีสีม่วงแดง และล้อมรอบทั้งพระวรกายด้วยพระภามณฑลสี น้ำเงินเข้ม ตัดเส้นรอบด้วยสีขาว พระพักตร์เขียนรูปแบบ ที่รับแรงบันดาลใจจากศิลปะสมัยสุโขทัย และมีความคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนของล้านนาที่เรียกว่า “พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนชั้นหลัง” หากนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปปางเปิดโลกของวัดหลวงฮอด ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ที่ค้นพบจากการขุดค้นจากแหล่งโบราณสถานเมืองฮอด ในยุคเดียวกัน จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกันมาก เช่น การเขียนพระเนตรเหลือต่ำเป็นรูปกลีบบัวคว่ำ การเขียนพระกรรณยาวลงมาจรดพรหนุ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าพระบฏผืนนี้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยเชียงแสนและสุโขทัย อนึ่งยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าในภาพได้อย่างแม่นยำ เนื่องมาจากขาดรายละเอียดของภาพที่ชำรุดเสียหายไป ทั้งนี้จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
18/06/2562
RESOURCE TYPE:
ภาพถ่าย
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ในประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
02_26_20190805_MR26-01_18
SUBJECT AGE:
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 (พ.ศ.1900 – 2100)
CATEGORY:
พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
26.55 x 30.20 in.
DIGITAL SIZE:
5222 x 2500 Pixels.