จิตรกรรมมุขทิศตะวันตกฝั่งด้านใต้ 1.5

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพจิตรกรรมบริเวณฝั่งขวาของรา เป็นตอนจบ ของเนมิราชชาดก หลังจากพระเจ้าเนมิราชเสด็จกลับจากแดนนรกและสวรรค์ พระองค์ทรงนำสิ่งที่เจอไปเล่าให้ประชาชนในเมืองมิถิลาฟัง ทำให้ประชาชนรักในการทำความดีซึ่งเป็นผลให้เมืองนี้มีความสุขต่อๆมา ในภาพพระเนมิราชประทับอยู่บนปราสาทเมืองมิถิลา ทรงเล่าเรื่องนรกและสวรรค์ให้ชาวเมืองฟัง แต่ภาพส่วนนี้ลบเลือนเสียหายไป คงสามารถเห็นเพียงเสนาอมาตย์อยู่ด้านซ้าย และเหล่านางสนมกำนัลอยู่ด้านหลัง ด้านหน้าปราสาทตั้งโต๊ะทอดเครื่องทองน้อย ที่น่าจะได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจากทางกรุงเทพ พระเนมิราชทรงเครื่องแบบกษัตริย์ของไทยหรือ การแต่งกายแบบในละครนาฏศิลป์ของทางกรุงเทพคือ สวมพระมหามงกุฎหรือพระชฎา มีกรรเจียกคือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก สวมกรองศอและอินทรธนูทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง นุ่งโจงกระเบนทับที่เป็นผ้าที่มีลวดลาย รัดด้วยปั้นเหน่งหรือเข็มขัด มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา

ส่วนเหล่าเสนาอมาตย์ที่นั่งเฝ้าด้านหน้าปราสาท เห็นแต่เฉพาะส่วนบน มีการแต่งกายคล้ายชาวไทยวนและไทลื้อในล้านนาในยุคนั้น ที่ได้รับอิทธิพลการแต่งกายรูปแบบจากทางกรุงเทพคือ ใส่เสื้อแขนยาวคอกลมทำจากผ้าที่เป็นผ้าพื้นเรียบ มีผ้าแถบมาคาดเอว ส่วนเหล่านางสนมกำนัลจิตรกรรมลบเลือนเช่นกัน สามารถเห็นเฉพาะส่วนบนเท่านั้นคือ แต่งกายแบบหญิงชาวไทยวนทั่วไปในล้านนา โดยนำผ้าแถบมาห่มห้อยชายไปด้านหลัง คล้ายการห่มสไบที่ในล้านนาเรียกว่า “ห่มผ้าสะหว้ายแล่ง” ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ สกุลช่างน่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของตนเองได้อย่างงดงาม มีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดภูมินทร์_215
SUBJECT AGE:
พุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
140×147 cm
DIGITAL SIZE:
76,603×25,593 Pixels

Loading