ภาพพระบฎวัดดอกบัว ผืนที่ 13.7

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
พะเยา
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
ภาพจิตรกรรมจบที่กลางภาพ บริเวณนี้มีอักษรล้านนาที่บริเวณด้านขวาล่าง เขียนไว้ว่า “กุมารจัน” หมายถึงกัณฑ์ที่ 8 กุมารกัณฑ์   เป็นตอนที่ชูชกได้ผูกมือและจูงสองกุมาร เพื่อนำกลับไปบ้านของตน  พระชาลีแต่งกายแบบเด็กชายในภาคกลางคือใส่เสื้อแขนยาวคอกลม นุ่งโจงกระเบน ตัดผมสั้นและไม่สวมรองเท้า พระกัณหาแต่งกายแบบเด็กหญิงชาวไทยวนในล้านนาคือ เปลือยอกมีผ้ามาคล้องคอและคลุมไหล่ห้อยชายไปด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะและไม่สวมรองเท้า ส่วนชูชกเปลือยอก นุ่งผ้าพื้นมีลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน แบบนี้ในพม่าก็มีเช่นกันเรียกการนุ่งผ้าแบบนี้ว่า “คะดาวง์ไจ๊ก์” และสะพายถุงย่าม
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
21/6/2567
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นของล้านนาสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากรัตนโกสินทร์ และพม่า นำมาผสมผสานกัน
COVERAGE:
วัดดอกบัว อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
พะเยา
IMAGE CODE:
02_24_20240621_MR_วัดดอกบัว_13.7
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดดอกบัว อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels

Loading