วัดป่าเหมือด ทิศใต้ 3.2

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

จิตรกรรมเริ่มเล่าเรื่องที่ช่องด้านซ้ายเป็นกัณฑ์ที่ 3 ของพระเวสสันดรชาดกคือ ทานกัณฑ์ มีความว่าพระเวสสันดรได้บริจาค สัตตสดกมหาทาน คือบริจาค ช้าง ม้า รถ โคนม สนม ทาสหญิง ทาสชาย อย่างละ 700 แล้วพระองค์ พร้อมกับพระมัทรี พระชาลี พระกัณหา ก็เสด็จ ออกจากเมือง  รุ่งขึ้นพระเวสสันดรทรงให้เบิกแก้วแหวนเงินทอง พร้อมทรงรถม้าพระที่นั่งเสด็จออกจากพระนครพร้อม พระนางมัทรีและสองกุมาร  ทรงโปรยแก้วแหวนเงินทองตลอดทางที่เสด็จ แล้วทรงโปรดให้ขบวนที่ตามเสด็จกลับพระนครไป 

ในภาพมีเรื่องราวคั้งแต่ฝั่งซ้ายสุด น่าจะเป็นตอนที่พระเวสสันดรพร้อมพระนางมัทรี ไปทูลลาพระเจ้าสญชัยพระประมุขแห่งพระนครสีพี ด้านขวาบนมีพระกัณหาและพระชาลีประทับอยู่ ด้านหน้ามีเหล่าข้าราชบริพารเศร้าโศกเสียใจ ที่พระเวสสันดรต้องเสด็จออกจากเมืองไป ปราสาทที่ประทับของพระเจ้าสญชัยและปราสาทที่พระกัณหาและพระชาลีประทับอยู่ มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์ นำมาผสมผสานกับรูปแบบของท้องถิ่นในเมืองน่าน ส่วนเครื่องทรงของพระเจ้าสญชัยและพระเวสสันดร สวมพระมหามงกุฎ และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งโจงกระเบนทับสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง มีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง ส่วนเครื่องทรงของพระนางมัทรีนั้น สวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกสวมกรองศอมีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งผ้าซิ่นที่ในเมืองน่านเรียกว่า “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น ทำผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าผมมวยสูงไว้กลางศีรษะ ในส่วนนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีการซ่อมแซมจิตรกรรมี่ผิดไปจากเดิม เนื่องจากรูปแบบของมวยผม มิใช่ทรงมวยผมที่เรียกว่า “วิดว้อง” ที่ต่างกับจิตรกรรมที่เขียนไว้บนฝาด้านิศเหนือ ( ดูรูปแบบมวยผม “วิดว้อง” ของฝาทิศเหนือได้ใน relation )

ส่วนมุมขวาบนมีพระกัณหาและพระชาลีประทับอยู่ ทรงเครื่องสวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เปลือยอกสวมกรองศอมีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน ส่วนข้าราชบริพารหญิงที่นั่งหน้าปราสาทใส่เเสื้อที่เรียกว่า “เสื้อปั้ด” คือเสื้อของหญิงชาวไทลื้อที่สาปเสื้อด้านหน้าเฉียงไปดิดด้านข้างลำตัวแขนยาว และนิยมใช้สีน้ำเงินเข้มที่ย้อมจากครามหรืออาจจะย้อมเป็นสีดำเลยก็มี นุ่งซิ่นมีชื่อเรียกว่า “ซิ่นเชียงแสน” เป็นซิ่นแบบพิเศษรูปแบบหนึ่งของเมืองน่าน คือเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว มีรูปแบบโครงสร้างคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา โดยที่ซิ่นเชียงแสนส่วนมากจะมีพื้นเป็นสีแดงครั่งหรือสีแดงเข้ม และมีเส้นขวางลำตัวที่มีทั้งแถบเส้นเดียวและกลุ่มของเส้นสลับกันไปเป็นสีครามหรือสีน้ำเงิน มีหน้าที่ส่วนมากไว้ใช้ไปทำไร่ทำนา เป็นผ้าซิ่นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถพบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น นับเป็นผ้าซิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนอย่างหนึ่งของเมืองน่าน เกล้าผมแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะในส่วนนี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีการซ่อมแซมจิตรกรรมี่ผิดไปจากเดิม เนื่องจากรูปแบบของมวยผม มิใช่ทรงมวยผมที่เรียกว่า “วิดว้อง” ที่ต่างกับจิตรกรรมที่เขียนไว้บนฝาด้านิศเหนือ ( ดูรูปแบบมวยผม “วิดว้อง” ของฝาทิศเหนือได้ใน relation )  ส่วนข้าราชบริพารฝ่ายชายและทหารที่ยีนหน้าประตูวังใส่เสื้อแขนขาวนุ่งโจงกระเบน ไว้ผมทรงลองทรง แต่ทหารที่ยีนหน้าประตูวังสวมหมวกทรงกลมมีปีกโดยรอบ ที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:

รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมของทางรัตนโกสินทร์เข้ามาผสมผสาน                                                                                                                                                                         

จิตรกรรมภาพพระนางมัทรี ในช่องที่ 1 ของฝาทิศเหนือ ที่ช่างได้เขียนจิตรกรรมรูปแบบของผมมวยแบบ “วิดว้อง” ได้อย่างถูกต้องตามแบบผมมวย ที่หญิงในดินแดนแถบนี้นิยมทำกัน
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220704_MR_วัดป่าเหมือด_08
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
99 x 45 cm
DIGITAL SIZE:
19836 x 3934  Pixels

Loading