วัดป่าเหมือด ทิศเหนือ 2.4

Category:

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:
จิตรกรรมกลางภาพเป็นเหตุการณ์เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรสในเวลพลบค่ำ  พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ  จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์  พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบส  จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา ในภาพจะเป็นตอนที่พระเวสสันดรเข้าประคองพระนางมัทรี ด้านหน้าพระนางมัทรีทรงอนุโมทนาต่อการให้ทานของพระเวสสันดรในครั้งนี้ ที่ประทับของพระเวสสันดร มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์ นำมาผสมผสานกับรูปแบบของท้องถิ่นในเมืองน่าน พระเวสสันดรทรงเครื่องแบบพระดาบนักบวช คือสวมพระชฎาห่มผ้าแบบนักบวช การแต่งกายของพระนางมัทรีน่าจะคล้ายกับหญิงชาวไทลื้อและไทยวนในแถบนี้คือ ใส่เสื้อที่มีชื่อเรียกว่า “เสื้อลองแดง” เป็นเสื้อแขนยาวคอกลมผ่าหน้า ส่วนมากทำจากผ้าฝ้ายย้อมครามหรือย้อมดำ บ้างก็ใช้ผ้ากำมะหยี่ดำ ซับในด้วยผ้าสีแดงเข้มส่วนมากย้อมมาจากครั่ง บางที่อาจจะมีการตกแต่งตามสาปและริมเสื้อด้วยผ้าแถบที่มีลวดลายคล้ายกับเสื้อปั้ดของชาวไทลื้อ เปลือยอกสวมกรองศอมีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งผ้าซิ่นที่ในเมืองน่านเรียกว่า “ซิ่นป้อง” เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ให้เกิดลวดลายเพิ่มเติม พบได้เฉพาะที่เมืองน่านเท่านั้น ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง”ไว้กลางศีรษะ
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
04/07/2565
RESOURCE TYPE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
รูปแบบการเขียนเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมของทางรัตนโกสินทร์เข้ามาผสมผสาน
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20220704_MR_วัดป่าเหมือด_23
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดป่าเหมือด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย  view map
ORIGINAL SIZE:
57 x 46 cm
DIGITAL SIZE:
19836 x 3934  Pixels

Loading