วัดหนองบัว ทิศตะวันออก(กัณฑ์ที่ 5)1.3

Description

Digital Data

TITLE:
น่าน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนจิตรกรรมบริเวณฝั่งซ้ายของปราสาทเมืองอินทปัตถ์ ภาพเขียนในบริเวณนี้ปัจจุบันลบเลือนไปเเทบทั้งหมด เขียนเรื่องราวในตอนที่พระนางเทวธิสังกาสิ้นพระชนม์ ด้วยมีดเล็กด้ามทำมาจากเขี้ยวเสือ ที่ได้มาจากพ่อค้าสำเภา หล่นตกลงหลังพระบาท เกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ไม่สามารถรักษาได้ จนเป็นเหตุให้สิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา แต่กลายเป็นแผลใหญ่ขึ้นจนสิ้นพระชนม์ดังคำทำนายของโหร

ในบริเวณฝั่งด้านซ้ายของพระนางเทวธิสังกา บรรทัดแรกมีภาษาล้านนาเขียนกำกับอยู่อ่านได้ความว่า “…ยวเสื..เสีย..ปั.ตีน..นางเทวธีสังกา..” ซึ่งน่าจะแปลได้ประมาณว่า “เขี้ยวเสือหล่นใส่เท้านางเทวธิสังกา” 

ภาพเขียนบริเวณฝั่งซ้ายมือ ด้านหน้าของปราสาท เป็นภาพของพระนางเทวธิสังกาทรงยืนถือมีดเล็ก ปลายด้ามทำมาจากเขี้ยวเสือที่ได้มาจากพ่อค้าสำเภาต่างประเทศคนหนึ่ง พระนางทรงพอพระทัยมากจึงเก็บรักษาไว้ในที่สูง ครั้นมีดนั้นพลัดตกลง ปลายด้ามที่ทำด้วยเคี้ยวเสือตกลงถูกหลังพระบาท เเละมีพระโลหิตออก หมอหลวงจึงรีบทำการรักษา ทว่าแผลนั้นกลับกลายเป็นแผลใหญ่ขึ้น จนเป็นเหตุให้สิ้นพระชนม์ดังคำทำนายของโหราที่ทำนายไว้ครั้นทรงประสูติ 

ส่วนภาพเขียนบริเวณเบื้องหน้าพระนางเทวธิสังกา เขียนภาพเหล่านางสนมกำนัลที่ช่วยเอามีดออกจากพระบาทของพระกุมารี

พระนางเทวธิสังกาแต่งกายแบบหญิงในเมืองน่าน และหญิงชาวไทยวนในล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มคล้องทิ้งชายไปด้านหลัง นุ่งซิ่นตีนจกแต่เป็นซิ่นตีนจกที่ทอจากฝ้าย สามารถพบเห็นหญิงชาวไทยวนสวมใส่กันทั่วไปทั้งในเมืองน่านและล้านนา ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวที่ดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษ ซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องจะมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอด้วยกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติมขึ้น ผ้าซิ่นที่ปรากฏในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่าง เรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่า “มัดหมี่” ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาว เกล้าผมแบบที่เรียกว่า ”ตั้งเกล้า” ใส่ลานหู คือเครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบลาน เป็นแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป ส่วนเหล่านางสนมกำนัลแต่งกายแบบหญิงในเมืองน่าน และหญิงชาวไทยวนในล้านนา คือ นำผ้าแถบสีเรียบมาห่มคล้องทิ้งชายไปด้านหลัง นุ่งซิ่นตีนจกแต่เป็นซิ่นตีนจกที่ทอจากฝ้าย สามารถพบเห็นหญิงชาวไทยวนสวมใส่กันทั่วไปทั้งในเมืองน่านและล้านนา ตีนจกของเมืองน่านนี้มีการใส่ลวดลายเฉพาะของตนลงไป ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของซิ่นตีนจกของเมืองน่าน ที่สามารถพบได้แต่เฉพาะในเมืองน่านเท่านั้น ส่วนท้องซิ่นจะมีแนวขวางลำตัวที่ดูแล้วคล้ายกับซิ่นป้อง เป็นซิ่นที่มีรูปแบบพิเศษ ซึ่งเป็นซิ่นที่มีลายในแนวขวางลำตัว ดูแล้วคล้ายกับ “ซิ่นต๋า” ของหญิงชาวไทยวนในล้านนา ผ้าซิ่นป้องจะมีการตกแต่งผ้าซิ่นด้วยการทอด้วยกรรมวิธีต่างๆในแนวขวางลำตัวที่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้เกิดลวดลายเพิ่มเติมขึ้น ผ้าซิ่นที่ปรากฏในภาพน่าจะเป็นการตกแต่งการทอด้วยกรรมวิธีหลายอย่าง เรียกว่า “มัดก่าน” หรือที่ทั่วไปเรียกว่า “มัดหมี่” ส่วนบนศรีษะไว้ผมยาว เกล้าผมแบบที่เรียกว่า “วิดว้อง” เเละ “ตั้งเกล้า” ที่หูใส่ลานหู คือ เครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบลาน เป็นแผ่นเงิน หรือ ทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
ภาพจิตรกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นของ สกุลช่างน่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่นำเอารูปแบบต่างๆทั้งศิลปะของไทลื้อ ศิลปะของทางรัตนโกสินทร์และศิลปะของพม่าแบบไทใหญ่ นำมาผสมผสานก่อให้เกิดรูปลักษณ์ที่เป็นของเฉพาะตนได้อย่างงดงาม มีรูปแบบคล้ายพบได้ที่วัดภูมินทร์ อำเภอมืองน่าน โดยมีการใช้สีจากธรรมชาติเป็นส่วนมากในการเขียน อาทิเช่น สีน้ำเงินจากคราม ที่เป็นสีหลักในการเขียนจิตรกรรม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จิตรกรรมเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากน้ำฝนรั่ว ความชื้นจากดินด้านล่าง รวมถึงโดนน้ำท่วมมาด้วยกันหลายครั้ง
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิรองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
น่าน
IMAGE CODE:
02_29_20150207_MR_วัดหนองบัว_73
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
ศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาคเหนือ ประเทศไทย view map
ORIGINAL SIZE:
61×39 cm
DIGITAL SIZE:
12988×7539 Pixels

Loading