วัดเวียงต้าทิศใต้

Description

Digital Data

TITLE:
แพร่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา
KEYWORDS:
DESCRIPTION:

ภาพเขียนพระเจ้าหงส์พิมพ์ทอง พระมเหสี และเหล่านางสมมกำนัล ประทับอยู่บนปราสาท บริเวณด้านหน้าปราสาทมีเสนาอำมาตย์เข้าเฝ้าอยู่ ในบริเวณนี้มีอักษรล้านนาเขียนกำกับอยู่ บริเวณด้านบนเหนือปราสาท อ่านได้ความว่า “อันนี้เป๋นเมืองพญาหงส์ปิมตองแล” แปลได้ว่า “อันนี้เป็นเมืองของพระเจ้าหงส์พิมพ์ทอง” ถัดมาเป็นชุดอักษรบริเวณด้านล่าง (หน้าปราสาท) อ่านได้ความว่า “เสนาเค้า” แปลได้ว่า “ข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง”

ปราสาทในภาพมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ลักษณะคล้ายกับวัดในยุคนั้นคือ หลังคามีลักษณะปีกนกลดสองชั้น ประดับด้วยช่อฟ้าและปั้นลมเป็นรูปตัวนาคและตัวเหงา บริเวณชานด้านล่าง (ข้างปราสาทข้างพระเจ้าหงส์พิมพ์ทอง) เขียนภาพคณโฑน้ำทองคำ พานทองคำและหีบทองคำวางทอดอยู่  

พระเจ้าหงส์พิมพ์ทองทรงเครื่องแบบกษัตริย์ คือสวมกระบังหน้ามีกรรเจียก คือเครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า และสวมกรองศอทับบนเสื้อแขนยาว มีทับทรวงและสายสังวาลสะพายแล่ง สวมพาหุรัดที่ต้นแขน นุ่งสนับเพลาคือกางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้งมีผ้าห้อยหน้าหรือชายไหวระหว่างชายแครง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง นุ่งโจงทับ ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา ส่วนพระมเหสีแต่งกายแบบสตรีในราชสำนักในล้านนา คือ เปลือยอกมีการนำผ้าแถบสีเรียบ นำมาห่มคล้องคอห้อยชายทั้งสองไปด้านหลัง นุ่งซิ่นต๋าต่อด้วยจกคำ คือ ตีนซิ่นต่อด้วยตีนจกคำที่ทอด้วยดิ้นคำ (ทองคำ) ไว้ผมมุ่นมวยเรียกว่าเกล้าแบบ “วิดว้อง” ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำหรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำ และไม่สวมรองเท้า ในมือถือพัดหรือในล้านนาเรียกว่า “วี” ส่วนนางสนมกำนัลที่นั่งอยู่ด้านหลังการแต่งกายแบบหญิงไทยวนที่พบได้ทั่วไปในล้านนา คือ เปลือยอกนำผ้าที่มีลวดลายมาคล้องคอห้อยชายทั้งสองไปด้านหลัง และนำผ้าแถบสีเรียบมาห่มเฉียงแบบสไบ หรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลังเรียกว่า “สะหว้ายแหล้ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย”  นุ่งซิ่นต๋าต่อตีนแดง ทรงผมมีทั้งปล่อยผมและเกล้ามวยที่เรียกว่าทรง “วิดว้อง”และ “ตั้งเกล้า” ไว้กลางศีรษะมัดมวยด้วยสร้อยคำ หรือสร้อยทอง เจาะหูใส่ “ลานหู” มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป สวมกำไลทองคำและไม่สวมรองเท้า ส่วนอมาตย์ที่นั่งด้านหน้าปราสาทสวมใส่เสื้อคอตั้งแขนยาวสวมโจงกระเบนด้วยผ้าที่มีลวดลาย ไว้ผมทรงมหาดไทย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากกรุงเทพ

PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
OTHER CONTRIBUTORS:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
DATE:
15/02/2021
RESOURCE TYPE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา มูลนิธิ รองศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์
SOURCE:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา โดย มูลนิธิ รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์

Physical Data

COLLECTION NAME:
แพร่
IMAGE CODE:
02_27_20210215_MR27-01_01
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ. 2380 – 2410
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
หอภาพถ่ายล้านนา, มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์,แปลอักษรล้านนา โดยคุณภูเดช แสนสา
COVERAGE:
วัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์) View map
ORIGINAL SIZE:
9.24 x 2.04 เมตร
DIGITAL SIZE:
20,585 x 5173 Pixels

Loading